ประเทศไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตและความร่วมมือทางวิชาการมายาวนานและต่อเนื่อง ทั้งในด้านการทูตและความร่วมมือทางวิชาการ โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม กล่าวคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เทคนิคไทย-เยอรมัน ที่ยังคงอัตลักษณ์ หลักการและแนวคิดการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้น การฝึกปฏิบัติงานจริง ที่เรียกว่า ระบบทวิภาคี ในการฝึกช่างฝีมือและช่างเทคนิค สำหรับระบบสหกิจศึกษา โดยจะเน้นการผลิตนักเทคโนโลยีและวิศวกรปฏิบัติ ซึ่งเป็นการดำเนินการจัดการศึกษา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
ระบบสหกิจศึกษาเป็นระบบการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาสลับกับการไปหาประสบการณ์ตรงจากการปฏิ บัติงานจริงในสถานประกอบการโดยมุ่งหวังว่าเมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษาแล้วจะเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการไปประกอบอาชีพตามสาขาที่เรียนมา ซึ่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันใช้เป็นระบบการจัดการศึกษาเพื่อผลิตแรงงานที่ตรงกับความต้องการของสถานประ กอบการมายาวนานกว่า 100 ปี โดยเรียกระบบนี้ว่า Dual Education หรือ Dual Studies หรือ Cooperative Education เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้เรียนก้าวทันการพัฒนาเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ และช่วยให้เกิดความร่วมมือ ในการพัฒนาหลักสูตรตลอดจนองค์ความรู้สมัยใหม่ ทำให้ระบบการศึกษามีพัฒนาการก้าวกระโดดตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์
จากการประชุมวิชาการการศึกษาและวิชาชีพ ณ หอประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทรราชินี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาส 150 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เยอรมัน (ค.ศ. 1862 – 2012) และสืบสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน กับทั้งเพื่อร่วมผลักดันให้เกิดความร่วมมือทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงานและการศึกษา ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เป็นแบบอย่างที่ประสบความสำเร็จจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และเพื่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน จึงได้มีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ และ Bangkok Protocol ด้าน การพัฒนา “Dual Education System”และ e-Learning Development ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการต่างประเทศของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการ (เอกสารแนบ 1) โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจาก DAAD (German Academic Exchange Services) เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการข้างต้น ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย และ DAAD ประเทศไทย (German Academic Exchange Services) ได้มีการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 หารือการให้ความสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันสหกิจศึกษาและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไทย - เยอรมัน (Thai - German Dual Education and e-Learning Development Institute : TGDE) โดยเน้นความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน รวมทั้งการจัดหาผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมันมาเป็นที่ปรึกษาและประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและ สถานประกอบการของไทยและเยอรมัน ณ สถาบันสหกิจศึกษาและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไทย - เยอรมัน (TGDE) ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดการศึกษาจากระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สู่ระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ในระบบ “Dual Education” หรือ “Cooperative Education” เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากรทางการศึกษาของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน เป็นการยกระดับฝีมือแรงงาน ทั้งในระดับ ปวช. ปวส. และระดับปริญญาตรีขึ้นไป (เอกสารแนบ 2) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนก้าวทันการพัฒนาเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม การผลิตและบริการ ช่วยให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรและองค์ความรู้สมัยใหม่ ทำให้ระบบการศึกษาสามารถก้าวทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาคุณภาพบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ครูช่างอุตสาหกรรม นักเทคโนโลยี วิศวกรปฏิบัติทุกสาขาของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการถ่ายทอดเทคโนโ ลยีด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิต การซ่อมบำรุง และการบริหารจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาร่วมกับสถานประกอบการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศพม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย มีข้อได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ และมีแนวโน้มการขยายตัว ทางการค้าและการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความต้องการแรงงานที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานฝีมือขั้นสูง จึงมีความจำเป็นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ต้องจัดตั้งหน่วยงานสหกิจศึกษาและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไทย – เยอรมัน (TGDE) เพื่อรองรับความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนและสร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจ และความเข้มแข็งของประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ให้เข้มแข็งต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคี (Dual Education) และสหกิจศึกษา (Cooperative Education) และเป็นการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
เพื่อสร้างความร่วมมือในการจัดฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคลากรทางการศึกษาในภูมิภาคอาเซี ยน ให้มีการยกระดับมาตรฐานครูช่าง นักเทคโนโลยี และวิศวกรปฏิบัติที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาและสถานประกอบการในกลุ่มประชาคมอาเ ซียน
เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์และใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับ ครูอาจารย์ นักศึกษา ช่างฝีมือ ช่างเทคนิค นักเทคโนโลยี วิศวกร และนักบริหารมืออาชีพ ให้ตามทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์
เพื่อส่งเสริมวิชาการและบริการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมและการศึกษา เช่น e–Commerce, e–Procurement, e–Manufacturing, e–Supply Chain, e–Training เป็นต้น ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน