เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
มจพ. ให้ความห่วงใยและตระหนักถึงการยกระดับมาตรการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยง ในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
18 กรกฎาคม 2565
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน รวมถึงมหาวิทยาลัยฯ เข้าสู่ช่วงของการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ซึ่งจะมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On-site 100% ด้วยนั้น ทั้งนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าว จะส่งผลทำให้มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนที่สูงขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลของ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาเตือนถึงการระบาดระลอก 6 นี้ว่าจะหนัก มีผู้ป่วยติดเชื้อสูงกว่ารอบที่ผ่านมา โดย นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การระบาดโควิด-19 รอบใหม่นี้นับเป็นระลอกที่ 6 เป็นการระบาดด้วยสายพันธุ์โอมิครอน BA.5 จะมีจุดสูงสุดปลายเดือนนี้ และตลอดเดือนหน้าสิงหาคม ซึ่งจากจำนวนผู้ป่วยถ้าคิดเป็นสัดส่วนจะพบว่า มีผู้ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลน่าจะอยู่ที่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือน้อยกว่า และมีอัตราการเสียชีวิตจะอยู่ที่ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือน่าจะเป็น 0.1 เปอร์เซ็นต์ หรือน้อยกว่าของผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งตัวเลขนี้กำลังลดลงไปใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจ เราจึงเห็นสัดส่วนของการนอนโรงพยาบาล และการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน “
ถึงแม้จะมีผู้ป่วยเป็นหลักหมื่นหรือหลายหมื่น จะมีผู้เข้ารับการรักษาและแจ้งยอดให้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ที่ 2,000 คน และมีการเสียชีวิต 20 คน
ดังนั้น อัตราการเสียชีวิต ในจำนวนนี้ จะอยู่ที่ยอดผู้ป่วยติดเชื้อทั้งสิ้นหลายหมื่นคน
ซึ่งสูงกว่าระลอกที่ 5 แน่นอน เพราะส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย อย่างไรก็ตาม กลุ่มเสี่ยงสูงควรได้รับวัคซีนให้เต็มที่เพื่อลดอาการ และถ้าติดเชื้อถึงแม้จะมีอาการน้อย ทันทีที่รู้ว่าติดเชื้อก็ควรจะได้รับยาต้านไวรัสเพื่อการรักษาในทันที ให้เร็วที่สุด เพื่อลดการนอนโรงพยาบาล และเสียชีวิต” นพ.ยง ระบุ (ที่มา
https://workpointtoday.com/covid19-580/ เมื่อ
วันที่ 14 กรกฎาคม 2565)
เพื่อเป็นการ
ยกระดับมาตรการป้องกัน ลดความเสี่ยงและสร้างความปลอดภัยในสุขภาพและชีวิตของบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งอาจมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (
COVID-19) ที่กำลังแพร่ระบาดในขณะนี้
มหาวิทยาลัยจึงขอความร่วมมือบุคลากรและนักศึกษาทุกท่าน สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างทางสังคมในสถานศึกษา หมั่นล้างมือทำความสะอาด งดการรับประทานอาหารร่วมกัน และหมั่นตรวจ
ATK ด้วยตนเองทุกสัปดาห์ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสร้างปลอดภัย
ในสุขภาพและชีวิตต่อตัวท่านและครอบครัวต่อไป
ด้วยความห่วงใยและปรารถนาดี จาก มจพ.
รุ่งนภา-เผยแพร่