มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มจพ. ให้การต้อนรับ บริษัท ซีเนียร์ แอโรสเปซฯ เข้าเยี่ยมชม และหารือความร่วมมือทางวิชาการ
News Date19 ธันวาคม 2565
รศ.ดร.สมิตร ส่งพิริยะกิจ คณบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พร้อมด้วย รศ.ดร.รัตนากร ผดุงถิ่น รองคณบดีฝ่ายพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต และคณาจารย์ วทอ. ให้การต้อนรับ บริษัท ซีเนียร์ แอโรสเปซ (ไทยแลนด์) จํากัด โดยคุณเจษฎา กิ่งแก้ว Business development director - Asia  คุณพิมพนิจ ขุนทรง HR manager และคุณคนึงนิตย์ เงินสัจจา HRD  assistant manager ได้เข้าเยี่ยมชม และเข้าหารือความร่วมมือทางวิชาการ กับวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดย Senior Aerospace  มีความเชี่ยวชาญในการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานประเภท High precision และ High technology หลากหลายประเภท อาทิเช่น โครงสร้างปีกเครื่องบิน ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ไอพ่น เป็นต้น บริษัทผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ให้ลูกค้าที่ใช้อากาศยานทั้งแบบ Boeing และ Airbus ทั้งนี้บริษัทฯ พร้อมที่จะให้ความสนับสนุน และความร่วมทางวิชาการในหลักสูตรเทคโนโลยีวิศวกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ของวิทยาลัยฯ นอกจากนี้คุณเจษฎา ยังกล่าวเสริมถึงความต้องการของบุคลากรด้านการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานของประเทศในอนาคตอีกว่า “ผมเชื่อว่าอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยานจะเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนอีกหลายปี จากข้อมูลการส่งมอบเครื่องบินโดยสารทั้ง Boeing และ Airbus ที่ยังค้างการส่งมอบเครื่องบินที่มีพิสัยการบินระยะใกล้และระยะกลาง รวมกันอีกประมาณเกือบ 3000 ลำ และจะส่งมอบได้ครบต้องใช้ระยะเวลาถึง 15 ปีเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ผลกระทบจากการเกิด Covid 19 อาจกระทบต่อระยะเวลาการส่งมอบให้ช้าลง แต่ไม่กระทบต่อยอดจำหน่ายของอุตสาหกรรมการบินแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้นฐานการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานทยอยเข้ามาลงทุนใน South East Asia โดยเฉพาะในประเทศไทยและประเทศเวียดนามอย่างต่อเนื่อง Senior Aerospace เองก็มีแผนการขยายโรงงาน และยังต้องการแรงงาน วิศวกร ที่สามารถทำงานใน Skills ที่โรงงานต้องการอยู่อย่างต่อเนื่อง” คุณพิมพนิจ กล่าวถึงทักษะที่จำเป็นของนักศึกษาที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยานนี้ว่า “วิศวกรของบริษัทที่ทำงานด้าน Production ต้องสามารถทำงานกับ Digital drawing ได้ ใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปในการ Simulation ทางด้านวิศวกรรมได้ คุ้นเคยกับการใช้งานเครื่องจักรที่ทันสมัย เป็นต้น และที่จำเป็นอีกประการหนึ่งคือ ต้องมีทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ
ในการนี้ ผศ.ดร. วรรณลักษณ์ เหล่าทวีทรัพย์ ได้เล่าถึงเนื้อหารายวิชาของหลักสูตรเทคโนโลยีผลิตชิ้นส่วนอากาศยานว่า “หลักสูตรดังกล่าวเริ่มพัฒนาเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วภายหลังจากท่านคณบดีฯ เข้าเยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC และเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในด้านนี้ หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต รับนักศึกษาระดับ ปว.ส. เข้ามาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี 2 ปี มีการเรียนการสอนทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติอย่างเข้มข้นด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ในการทำแบบชิ้นงาน และการวิเคราะห์ทางด้านวิศวกรรมในการขึ้นรูปเพื่อผลิตชิ้นงาน ทางสาขาวิชามีเครื่องมือเครื่องจักรเดิมที่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ทันที อย่างไรก็ตามทางวิทยาลัยก็ได้สนับสนุนการจัดซื้อเครื่องจักร CNC 5 แกนเพิ่มขึ้น เพื่อให้นักศึกษาพร้อมกับการทำงานได้ทันทีเมื่อเข้าสู่การทำงาน”
โดย รศ.ดร. สมิตร ส่งพิริยะกิจ คณบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้แจ้งให้ทราบว่า “ในปีนี้ เป็นปีที่สองแล้วที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดการเรียนการแบบเสริมทักษะภาษาอังกฤษ กล่าวคือร้อยละ 20 ของวิชาที่สอนในวิทยาลัยจะต้องถูกสอนและวัดผลเป็นภาษอังกฤษ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ กำลังปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปสู่การเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษเต็มรูปแบบในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาบุคลการที่จะมีส่วนร่วมในการผลักดันเศรษฐกิจ S-curve ใหม่ ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต” ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565
พัทธนันท์/ข่าว
ปิติพัฒน์/ภาพ