เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
วิศวกรรมเคมี มจพ. สร้างชื่อเทคโนโลยีสีเขียวสำหรับยานยนต์ สู่กระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงฯ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
10 สิงหาคม 2566
รศ.ดร.สุวิมล วงศ์สกุลเภสัชอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดเผยถึง เทคโนโลยีสีเขียวสำหรับยานยนต์ ต้นแบบและเทคโนโลยีกระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ ที่ตอบโจทย์การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากหน่วยบริหารและจัดการด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เป็นทุนวิจัยประเภท สร้างเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (เชื้อเพลิงชีวภาพ วัสดุและเคมีชีวภาพ) จากกการเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตรหรือของเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตหรือการบริโภค ระยะเวลาโครงการ 2 ปี (2564-2566) มูลค่ารวมโครงการ 29 ล้านบาท
จุดเด่นของต้นแบบและเทคโนโลยีกระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการผลิต จะประกอบไปด้วย กระบวนการผลิตก๊าซไอโดรเจนและก๊าซสังเคราะห์ กระบวนการผลิตฟิชเชอร์-โทรป( Fisher-Tropsch) กระบวนการผลิต Bio-hydrogenated diesel (BHD) สามารถตอบโจทย์เทคโนโลยีสีเขียวสำหรับยานยนต์ ถือเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงสะอาดที่ประยุกต์ใช้ในการคมนาคม นอกจากนี้ยังพบว่า น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนี้มีค่าซีเทนที่สูงกว่าน้ำมันที่ได้จากน้ำมันดิบ และไม่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมเพราะมีองค์ประกอบของซัลเฟอร์ต่ำ สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์นั้น สามารถผลิตได้จากก๊าซสังเคราะห์เป็นน้ำมันคุณภาพสูง น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ และน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์นี้ สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่อาศัยหลักการอัดอากาศ และเชื้อเพลิงให้มีความดันสูงจนเชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ ด้วยเหตุนี้
งานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันชีวภาพ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตตลอดทั้งกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการการใช้งานจริงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ ได้แก่ อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมเคมี
รศ.ดร.สุวิมล ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดเนื่องจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศได้รับความสนใจทั่วโลกการพัฒนากระบวนการผลิตสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากจะช่วยลดภาวะโลกร้อน แล้วยังสามารถลด PM 2.5 ได้อีกด้วย ซึ่งตอบโจทย์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ต้นแบบและเทคโนโลยีกระบวนการผลิตกระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในประเทศไทย สามารถ
ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลและเพิ่มกำไรจากการเปลี่ยน
waste เป็น high- value products ซึ่งช่วยส่งผลต่อเสถียรภาพด้านราคาพลังงานได้ อีกทั้งเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจที่ช่วยลดต้นทุน
ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่เหมาะสมที่ได้จากเทคโนโลยีกระบวนการผลิตกระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่สะอาด นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศช่วยทำให้เกิดการลงทุุนในอุุตสาหกรรมพลังงาน และอุุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น ช่่วยยกระดับรายได้แก่่ประชาชนในพื้นที่ทั้งในทางตรงและทางอ้อม เพิ่มเสถียรภาพด้านราคาในอุตสาหกรรมน้ำมันและทางการเกษตร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รศ.ดร.สุวิมล วงศ์สกุลเภสัช ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) โทรศัพท์. 097-042-1315 หรือที่ e-mail:
suwimol.w@eng.kmutnb.ac.th
ขวัญฤทัย ข่าว