มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
รศ. ดร.พงษ์พิสิฐ วุฒิดิษฐโชติ ให้สัมภาษณ์ ช่อง 7HD
News Date01 กุมภาพันธ์ 2567
   รศ. ดร.พงษ์พิสิฐ วุฒิดิษฐโชติ   หัวหน้าภาควิชาการบริหารเครือข่ายดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ คณะเทคโนโลยสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ให้สัมภาษณ์ ช่อง 7  HD ในประเด็น การเรียน Network and Cybersecurity ในสถานบันการศึกษาในไทยตอบโจทย์ตลาดแรงงานในปัจจุบันอย่างไร และสอดรับกับ AI จะเข้ามาแทนที่ และทำให้ตลาดแรงงานด้าน Cybersecurity ลดลงหรือไม่อย่างไร? สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2567 และออกอากาศ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567  รายการสนามข่าวเสาร์อาทิตย์ ณ ข่าวช่อง 7  โดยอาจารย์ให้ความเห็นว่า 
   1. การเรียน Network and Cybersecurity จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์หรือไม่ ? หลักสูตรในประเทศไทย ระดับปริญญาตรี ยังคงมีวิชาบังคับ เช่น คณิตศาสตร์
การเขียนโปรแกรมหรือทำงานพื้นฐาน อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ขั้นสูง แต่การรู้คณิตศาสตร์ขั้นสูงและนำไปประยุกต์ได้ ทำให้มีโอกาสทำงานที่ต้องการทักษะหรืองานวิจัยขั้นสูงได้
   2. การเรียน Network and Cybersecurity ได้เงินเดือนสูงจริงหรือไม่? จริง ๆ แล้ว สาขาวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรม เป็นสาขาที่ขาดแคลนอยู่แล้ว โดยเฉพาะสาขา Network and Cybersecurity ที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม แค่เรียนยังไม่พอ หากต้องการได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ควรฝึกฝนให้มีความชำนาญที่มากกว่าในห้องเรียนพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ และสอบ Certification จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานและเลือกงานได้มากขึ้น
  3. จำเป็นต้องจบสาขาวิทยาศาสตร์หรือไม่?  ในการเรียนไม่จำเป็น "ผมมีโอกาสสอนในระดับปริญญาโท ซึ่งรับนักศึกษาหลากหลายสาขานักศึกษาก็สามารถพัฒนาทักษะ และความสามารถใหม่ ๆ ได้ " ขอแค่มีความใส่ใน ตั้งใจ และพร้อมจะเรียนรู้ก็สามารถเรียนได้ เพราะคนที่ทำงานด้าน Cybersecurity ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็จบมาจากสาขาอื่น ๆ เพราะสมัยก่อน เราไม่มีสาขาหรือวิชาเรียน Cybersecurity มากนักทุกคนก็ต้องศึกษาและพัฒนาตัวเอง
 4. AI จะเข้ามาแทนที่ และทำให้ตลาดแรงงานด้าน Cybersecurity ลดลงหรือไม่? ถึงแม้จะมี AI เข้ามาช่วยในการทำงาน แต่ยังคงต้องการคนที่ใช้ AI เป็น หรือคิดค้นการทำงานขั้นสูงให้กับ AI (ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีทักษะด้านคณิตศาสตร์) ดังนั้น "เราเข้าสู่โลกดิจิทัลกันมากขึ้น เราก็ต้องการให้ระบบ หรือเครือข่ายที่เราใช้" นอกจากใช้งานได้ ยังต้องการให้ข้อมูลเป็นความลับ มีความสมบูรณ์ และรักษาความเป็นส่วนตัวซึ่งก็ยังต้องการบุคลากรด้าน Cybersecurity เข้ามาเสริมอยู่เสมอ
จากผลการสำรวจของสมาคม (ISC)2 ในปี 2023 พบว่าทั่วโลก มีความต้องการบุคลากรด้าน Cybersecurity มากกว่า 5 ล้านตำแหน่ง

กดลิงก์ รับชมได้ที่ youtu.be/2jKMxcRQWwA?si=ianiOzdYcX0oyURs


ขวัญฤทัย ข่าว-ภาพ