มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส

 สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อเป็นหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในการพัฒนาเทคโนโลยี ในกระบวนการผลิต และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับวงการอุตสาหกรรม ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งประเทศฝรั่งเศสจะได้รับผลตอบแทนในการลงทุนระยะยาวในด้านการเผยแพร่เทคโนโลยีสมัยใหม่สู่สถานศึกษาและ สถานประกอบการในประเทศที่กำลังพัฒนา อีกทั้งเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


การดำเนินงานของสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ประกอบด้วย
 
1. งานฝึกอบรม สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ได้ดำเนินงานจัดฝึกอบรมให้กับภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ

tfii01.JPG
 

  2. งานบริการวิชาการด้านการตรวจสอบและทดสอบ สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ได้ให้บริการวิชาการด้านการทดสอบและสอบเทียบ โดยมีห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบและสอบเทียบ ได้แก่
    2.1 
ฝ่ายเทคโนโลยีงานเชื่อม ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน มอก. 17025-2548 (ISO/IEC 17025: 2005) ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบหมายเลขการรับรองเลขที่ทดสอบ 0374 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับการทดสอบส่วนผสมทางเคมี อีกทั้งยังให้บริการทดสอบตรวจสอบสมบัติของวัสดุและการตรวจสอบงานเชื่อ
    2.2 
ฝ่ายเทคโนโลยีการกัดกร่อน มีผลงานในด้านการทดสอบและการให้คำปรึกษา เพื่อแก้ปัญหา ให้กับภาคอุตสาหกรรมทั้งในประเทศ และต่างประเทศในสาขาต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ TOTAL E&P โครงการวิจัยร่วมกับบริษัท รอแยลแคนอินดัสทรีย์ จำกัด บริษัท สวอน อินดัสทรีย์ ประเทศไทย จำกัด และบริษัท ไอซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด โครงการร่วมกับ Thai Parkerizing Co. Ltd. โครงการความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและวิจัยไทย-ฝรั่งเศส ร่วมกับ Institut National Polytechnique de Grenoble (INP Grenoble) เป็นต้น
    2.3 
ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล ได้ดำเนินการจัดตั้งห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดทางกลโดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศสผ่านทางสภาอุตสาหกรรมเครื่องกล (Federation of Mechanical- Industries, FIM) และหน่วยมาตรวิทยาของศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกล (Centre Techniqu des Industries Mechanique, CETIM) ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งในปัจจุบันได้ให้บริการการทดสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดให้กับภาคอุตสาหกรรม เช่น การวัดความหยาบผิวทั้งแบบ Contact และ Non contact การวัดความตรง ความกลมของเพลา การสอบเทียบเกจวัดความดัน 
    2.4 
ฝ่ายเทคโนโลยีไฟฟ้าและพลังงาน ได้รับการรับรองจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน13 (กทม.) ให้เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ โดยเปิดอบรมหลักสูตรการติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร บริการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน บริการสอบประเมินความรู้ความสามารถ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1

tfii02.JPG
 

  3. งานบริการวิชาการด้านการให้คำปรึกษา สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส บริการให้คำปรึกษาโดยมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการเพื่อให้บริการให้คำปรึกษาด้านต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งนี้การให้คำปรึกษาอาจจะอยู่ในรูปแบบของการพัฒนาบุคลากร เช่น การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบริการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาให้กับโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเป็นที่ปรึกษาในการให้คำปรึกษาแนะนำการจัดทำระบบโปรแกรมวิศวกรรมซ่อมบำรุงในส่วนของระบบสโตร์และการจัดทำระบบข้อมูลนำมาประมวลผลใช้งานร่วมกับระบบการผลิตเพื่อให้สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกับระบบ HACCP และ GMP เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

  4. การให้บริการวิชาการด้านการเรียนการสอน สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศสมีห้องปฏิบัติการและห้องเรียนสำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนและเพื่อทำโครงงานพิเศษระดับปริญญาตรี ได้แก่ ห้องปฏิบัติการฝ่ายระบบการผลิตอัตโนมัติ ห้องปฏิบัติการฝ่ายเทคโนโลยีการกัดกร่อน ห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยพลังงานทดแทน รวมถึงการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของนักศึกษาอีกด้วย

tfii03.JPG


  5. งานวิจัย สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย – ฝรั่งเศส ได้ให้บริการห้องปฏิบัติการฝ่ายเทคโนโลยี การกัดกร่อน ห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยพลังงานทดแทน และห้องปฏิบัติการฝ่ายระบบการผลิตอัตโนมัติ ในการทำวิจัย วิทยานพินธ์ และปริญานิพนธ์ ของนักศึกษา อาจารย์ นอกจากนี้ สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย- ฝรั่งเศส มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ และเผยแพร่ทั้งระดับชาติ และนานาชาติ ได้แก่ ในวารสารต่างประเทศ บทความในวารสารในประเทศ งานวิจัยนำเสนอในการประชุมวิชาการต่างประเทศ งานวิจัยนำเสนอในการประชุมวิชาการ ในประเทศ