ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยระดับปริญญาตรีมี 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อนวัตกรรม(ภาษาไทย) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศและวิทยาศาสตร์ข้อมูล (หลักสูตรนานาชาติ) และระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อนวัตกรรม(ภาษาไทย) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศและวิทยาศาสตร์ข้อมูล (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล จะเน้นผลิตบัณฑิตที่มีทักษะด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสู่การปฏิบัติได้จริง โดยเริ่มให้ความรู้ด้านไอที ด้านการบริหาร ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านธุรกิจ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และด้านการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความรู้สู่การสนับสนุนในการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัล สอดคล้องนโยบายประเทศไทย 4.0 และยังสามารถทำงานกับองค์กรระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี นักศึกษาจะสามารถความต้องการของระบบไอทีจากโจทย์ในองค์กรหรือทางธุรกิจ นำสู่การวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ครบถ้วนตามความต้องการ และการพัฒนาระบบดิจิทัลด้วยเครื่องมือซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ส่วนในหลักสูตรระดับบัณฑิตโทและเอก จะเน้นการวิจัยสู่การประยุกต์ใช้งาน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ การทำเหมืองข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนและการจัดการกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ และอื่น ๆ อีกมากมาย หลักสูตรด้านสารสนเทศและวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเครื่องการวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลผลกลุ่มเมฆ การเรียนรู้ของเครื่องเชิงลึก หลักสูตรทั้งหมดจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ การจัดการเรียนการสอนให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทั้งเชิงทฤษฎีและการลงมือปฏิบัติผ่านการทำงานกลุ่ม และการวิจัย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์จริง
หลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (ฺB.Sc.) 4 ปี
สาขา |
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา |
ช่วงเวลาเรียน |
ค่าเทอม |
สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) |
ภาคปกติ 129 หน่วยกิต |
จ-ศ (09.00 – 16.00 น.)
|
45,000 บาท (เหมาจ่าย) |
หลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (M.Sc.) 2 ปี
สาขา |
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา |
ช่วงเวลาเรียน |
ค่าเทอม |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อนวัตกรรม (ภาษาไทย) |
ภาคปกติ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) |
จ-ศ (09.00 – 16.00 น.)
|
19,000 บาท (ประมาณ) |
ภาคพิเศษ 36 หน่วยกิต (การค้นคว้าอิสระ) |
จ-ศ (09.00 – 16.00 น.) |
45,000 บาท (เหมาจ่าย) |
ภาคพิเศษ 36 หน่วยกิต (การค้นคว้าอิสระ) |
จ-ศ (18.00 – 21.00 น.) |
45,000 บาท (เหมาจ่าย) |
ภาคพิเศษ 36 หน่วยกิต (การค้นคว้าอิสระ) |
ส-อา (09.00 – 16.00 น.) |
45,000 บาท (เหมาจ่าย) |
สาขาวิชาสารสนเทศและวิทยาศาสตร์ข้อมูล (นานาชาติ) |
ภาคพิเศษ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) |
จ-ศ (18.00 – 21.00 น.) |
60,000 บาท (เหมาจ่าย) |
หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D.) 3 ปี
สาขา |
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา |
ช่วงเวลาเรียน |
ค่าเทอม |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อนวัตกรรม (ภาษาไทย) |
ภาคปกติ 48 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) |
จ-ศ (09.00 – 16.00 น.)
|
45,000 บาท (ประมาณ) |
ภาคปกติ 48 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) |
ส-อา (09.00 – 16.00 น.) |
100,000 บาท (เหมาจ่าย) |
สาขาวิชาสารสนเทศและวิทยาศาสตร์ข้อมูล (นานาชาติ) |
ภาคพิเศษ 48 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) |
จ-ศ (18.00 – 21.00 น.) |
60,000 บาท (เหมาจ่าย) |