มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
หน้าแรก > ข่าวสาร > ข่าวนักศึกษา > พิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ Smart Mobility Symposium: Bridging the Grids
พิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ Smart Mobility Symposium: Bridging the Grids
News Date06 ตุลาคม 2560
วันที่ 6 ตุลาคม 2560 ณ สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน แอร์พอร์ต เรลลิงก์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณพิไลย นรสิงห์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรทางด้านการศึกษา ได้แก่ RWTH Aachen University สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี Hongik University สาธารณรัฐเกาหลี พร้อมทั้งกลุ่มพันธมิตรในด้านอุตสาหกรรม ประกอบด้วย บริษัท บีเอ็มดับเบิลยูแมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีเมนส์ ประเทศไทย จำกัด บริษัท แชฟฟ์เลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด รวมไปถึงกลุ่มพันธมิตรในภาคราชการ ประกอบด้วย สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด และสมาคมวิศวกรรมระบบรางแห่งประเทศไทย จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ Smart Mobility Symposium ภายใต้หัวข้อ Bridging the Grids หรือการเชื่อมโยงโครงข่ายจราจรด้วยระบบอัจฉริยะ โดยได้รับเกียรติจากนายอาคม   เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ H.E. Mr. Peter Prügel เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ  เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมและเปิดงานนิทรรศการทางวิชาการ
การประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ “Smart Mobility Symposium”  จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยหัวข้อเรื่อง “Bridging the Grids” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศไทย เยอรมนี เกาหลี และสิงคโปร์มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับกระแสทิศทางในปัจจุบัน ตลอดจนถึงวิสัยทัศน์ในอนาคตเกี่ยวกับความเป็นโมบิลลิตี้ที่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางในสังคมเมืองใหญ่ ภายในงานนิทรรศการ มีการจัดแสดงของบริษัทหลากหลายบริษัทมากมายตั้งแต่ระดับสตาร์ทอัพภายในประเทศ  ไปจนถึงระดับที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก ซึ่งจะจัดแสดงยานพาหนะต่างๆ เทคโนโลยี และองค์ความรู้ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง    โมบิลลิตี้
ทั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและวิจัยในอุตสาหกรรมการคมนาคมขนส่งของทั้ง 3 ประเทศ       มาบรรยายเรื่อง เทคโนโลยีการคมนาคมขนส่ง ประสบการณ์ และแนวทางปฏิบัติสำหรับการจัดการคมนาคม   ในเมือง ประเด็นหลักในการประชุมวิชาการในครั้งนี้คือ ปัญหาในการคมนาคมขนส่งไปยังจุดหมายปลายทาง การลดช่องว่างระหว่างระบบการคมนาคมขนส่งสาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงาน คือ เป็นเวที แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา และรูปแบบการบริหารจัดการอันเหมาะสม เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะที่รวมทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการขยายโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวกับการขนส่ง ได้แก่ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า และรถยนต์ส่วนบุคคล ระบบทางรถไฟและระบบขนส่งสาธารณะ การผลิตยานพาหนะ (จักรยาน รถจักรยานยนต์ รถบัส) การบริการด้านการขนส่ง (รถไฟฟ้า รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ รถอื่นๆ) การบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการขนส่ง พลังงานในการขนส่ง (น้ำมัน ไฟฟ้า) การให้คำปรึกษาการจัดการระบบจราจรในเมือง การศึกษาทางด้านสังคม การเรียนรู้และการวิจัย
นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการและการสาธิตเทคโนโลยี สำหรับระบบขนส่งมวลชนในอนาคตจากบริษัท ชั้นนำต่าง ๆ ในด้านเทคโนโลยีการขนส่ง มวลชนอัจฉริยะ การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ มีผู้ร่วมประชุมประมาณ 200 คน ประกอบด้วย บุคลากรภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ เพื่อเป็นการกระตุ้นสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนในด้านเทคโนโลยีการขนส่งมวลชนอันชาญตลอดในอนาคตต่อไป
 
 
รุ่งนภา/ข่าว