เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
พิธีเปิดงาน "Super AI Engineer" จัดโดยกระทรวง อว. สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และเครือข่ายทางด้าน AI
11 สิงหาคม 2563
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นผู้ประสานงานโครงการ Super AI Engineer เข้าร่วมในพิธีเปิดงาน "Super AI Engineer" ในรูปแบบ Live Virtual พร้อมกันทั่วประเทศ โดยมี ดร. นพ. ปฐม สรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.วงกต วิจักขณ์สังสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน ธุรกิจดิจิทัล บริษัท กสท โทรคมนาคม และ หัวหน้าโครงการ ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง เป็นประธานในการเปิดงาน โดยสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Association of Thailand : AIAT) จับมือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายสมาชิกสมาคม ไม่น้อยกว่า 40 แห่ง ร่วมกันจัดงาน “Super AI Engineer” เป็น โครงการพัฒนานวัตกร/วิศวกร/นักวิจัย/วิสาหกิจเริ่มต้น ด้านปัญญาประดิษฐ์ มีระยะเวลาโครงการ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2564 สำหรับพัฒนาบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนประเทศในอนาคต. ในการนี้ ทางสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายสมาชิกสมาคม และมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่า 40 แห่ง และจัดตั้งศูนย์ประสานงาน 6 ภูมิภาคคือ 1) ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3) ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา 4) ภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล 5) ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต 6) ภาคกลาง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย โครงการมีกำหนดการดังนี้
การอบรมรอบที่ 1 จัดอบรมในรูปแบบออนไลน์ เฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ช่วงกลางเดือนกันยายน 2563 – กลางเดือนพฤศจิกายน 2563
การอบรมรอบที่ 2 จัดอบรม 5-6 วันต่อสัปดาห์ ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ระยะเวลาการอบรม 2 เดือน ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 – กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564
การเข้ารอบการฝึกงานในองค์กรหรือศูนย์วิจัย ระยะเวลาการฝึกงาน 2 เดือน ช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2564
การแข่งขันรอบสุดท้าย นำเสนอผลงานที่ได้จากการฝึกงานในองค์กรหรือศูนย์วิจัย (Pitching) และประกาศผลผู้ชนะเลิศ วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม 2564
โดยโครงการมีเป้าหมายสร้างบุคลากร 4 กลุ่ม คือ นวัตกร/วิศวกร/นักวิจัย และกลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ด้านปัญญาประดิษฐ์
สามารถศึกษารายละเอียดโครงการและสมัครได้ที่
http://superai.aiat.or.th
email:
info@aiat.or.th
หรือ โทร 097-186-1734.
พัทธนันท์/ข่าว