เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 11.00 น. ศาสตราจารย์ ดร. ธีรวุฒิ บุณยโสภณ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี และคุณพจณี คงคาลัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่บริหารความสัมพันธ์และการขาย สายลูกค้าบุคคล ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา อ่องอารี ผู้อำนวยการอุทยานเทคโนโลยี (KMUTNB Techno Park) และคณะผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงาน ร่วมในพิธีเปิด “ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล” อุทยานเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (KMUTNB Techno Park) เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือครบ 65 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการตอบสนองภารกิจของอุทยานเทคโนโลยี มจพ. ที่ครอบคลุมการพัฒนามหาวิทยาลัย ทั้ง 3 วิทยาเขตตามความเหมาะสมและบริบทของแต่ละพื้นที่ และเป็นหน่วยงานกลาง (One Stop Service) ที่เป็นศูนย์รวมประสานงานการให้บริการวิชาการงานวิจัยระดับสูงและพัฒนานวัตกรรมอุตสาหกรรมที่มหาวิทยาลัย มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ รวมถึงเป็นศูนย์รวมในการพัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศได้ และเป็น ศูนย์รวมในการพัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ตามกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ในส่วนของการพัฒนาคนและการศึกษาให้กับสถานประกอบการนั้น นับเป็นส่วนที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐประเทศ ที่จะเพิ่มศักยภาพและความสามารถของแรงงานที่จะไปสู่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ไปสู่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ สูงขึ้น ด้วยแนวคิดดังกล่าว อุทยานเทคโนโลยี มจพ. จึงได้เสนอการทำ Edge Education คือการนำศาสตร์ และองค์ความรู้ที่มีภายใต้กิจกรรมของศูนย์ปฏิบัติการต่าง ๆ ของอุทยานเทคโนโลยี มาบริหารจัดการและ กำหนดให้องค์ความรู้นั้นไปสู่เนื้อหาในรูปแบบพหุสาขาวิชา หรือที่เรียกว่ารูปแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนและพัฒนาเนื้อหารายวิชาที่มีคุณลักษณะเฉพาะและแตกต่างไปจาก รายวิชาในรูปแบบเดิมที่มีอยู่ในแต่ละหลักสูตรมาใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นตัวตั้ง แล้วนำความรู้ จากวิชาเฉพาะทางสาขาต่าง ๆ รวมทั้งวิชาทางพื้นฐาน ทางสาขาที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องนั้น มาเชื่อมโยงสัมพันธ์ กันเพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน เป็นการบูรณาการความรู้แบบผสมผสาน ทำให้เกิดเอกลักษณ์ใหม่ของวิชาที่ขึ้นอยู่กับหัวเรื่องนั้น ส่งผลให้เกิดความรู้ที่มีความหมายมีมิติของความ หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ตอบโจทย์ที่ตรงกับความต้องการของ ภาคอุตสาหกรรมในแต่ละภาคส่วนให้สอดคล้องกับการพัฒนาการเรียนการสอนของการศึกษายุค 4.0
การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ได้รับการสนับสนุนเพื่อการศึกษาจาก ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เฟสแรกจำนวน 1 ล้านบาท เฟสที่ 2 จำนวน 1.5 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนด้านสถานที่ อุปกรณ์ การอำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นพหุสาขาวิชา และการบูรณาการความรู้แบบผสมผสานให้กับผู้เรียนหรือนักศึกษาได้สะดวก เป็นศูนย์กลางของการถ่ายทอดและกระจายความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจากภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้กับนักศึกษารวมทั้งนักธุรกิจ นักการศึกษา และบุคคลทั่วไป เพื่อยกระดับทักษะที่มีอยู่ให้ดีกว่าเดิม (Upskill) รวมทั้งการสร้างทักษะขึ้นมาใหม่ (Reskill) ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานโดยเฉพาะทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ซึ่งเป็น โครงการ Corporate Social Responsivity (CSR) ด้านการศึกษาของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ “ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล” ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 ของอาคารอุทยานเทคโนโลยี มจพ. ซึ่งมีลักษณะเป็น Co-learning & workshop Space ที่ตอบสนองต่อการเรียนรู้ให้ทันต่อเทคโนโลยีได้อย่างไม่มีขีดจำกัด สามารถยืดหยุ่นในการ นำอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยในด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ระบบการออกแบบงานอุตสาหกรรมในยุค ดิจิทัล ระบบการจัดการพลังงานและพลังงาน ทดแทนยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ เป็นต้น มาติดตั้งให้เหมาะสม กับหัวเรื่องนั้นเพื่อฝึกฝนผู้เรียนให้เกิดทักษะกับอุปกรณ์ที่จับต้องได้จริง รวมทั้งการตอบสนองและรองรับการเรียนการสอนในระบบเสมือนจริง ที่เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งจากสภาพแวดล้อมจริง และในจินตนาการด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งภาพและเสียง และสามารถพัฒนาการเรียนการสอนไปสู่การนำเอาความเสมือนจริง มาผสานเข้ากับสภาพแวดล้อมจริง ที่เรียกว่า การผสมผสานระหว่างโลกจริงและโลกเสมือน เทียบเคียงได้กับการผสมผสานห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม และห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงเข้าด้วยกัน และศูนย์นี้มีความยืดหยุ่นต่อการเรียนการสอนในหลากหลายเทคโนโลยี สามารถรองรับการปรับเปลี่ยน หมุนเวียน ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อรองรับทุก ศาสตร์ทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งเทคโนโลยีที่จับต้องได้จริง และเสมือนจริง เพื่อให้ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถจัดการเรียนรู้แบบสหวิทยาการให้ทันต่อเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสามารถใช้พื้นที่ศูนย์แห่งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกภาคส่วน ณ ชั้น 1 อุทยานเทคโนโลยี มจพ.
สุมนกาญณ์/ข่าว
พัทธนันท์/เผยแพร่