9 นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้รับการจัดอันดับใน World’s TOP 2% Scientists by Stanford University 2023 การจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ 2% แรกของโลก ปี 2023 โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา (Stanford University, USA) ซึ่งรวบรวมข้อมูลผลงานของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำมากกว่า 200,000 คน ประกอบด้วยข้อมูลผลงานตีพิมพ์ จำนวนการอ้างอิง และ h-index ในฐานข้อมูล Scopus แบ่งเป็นข้อมูลตลอดชีวิตการทำงานของนักวิจัย (Career-long Citation Impact) และข้อมูล 1 ปีล่าสุด (Single Year Citation Impact) โดยจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 22 สาขาและ 174 สาขาย่อย โดยข้อมูลปี 2023 ที่เผยแพร่นี้เป็นข้อมูลที่รวบรวมถึงสิ้นปี ค.ศ. 2022 จากฐานข้อมูล Scopus เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2023
โดยมี 6 นักวิจัย มจพ. ในการจัดอันดับ Career-Long Citation Impact 2023 หรือนักวิจัยได้รับการอ้างอิงตลอดชีวิตการทำงานสูงที่สุด นับถึงวันสุดท้ายของปี ค.ศ. 2022
1. ศาสตราจารย์ ดร.ปฏิพัทธ์ ทวนทอง ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม อันดับที่ 40 ของไทย และอันดับที่ 90,887 ของโลก อันดับที่ 1 ของไทย ในสาขา Electrical & Electronic Engineering
2. ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน อันดับที่ 69 ของไทย และอันดับที่ 124,956 ของโลก อันดับที่ 3 ของไทย ในสาขา Polymers
3. ศาสตราจารย์ ดร.ปิติ สุคนธสุขกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ อันดับที่ 133 ของไทย และอันดับที่ 219,256 ของโลก อันดับที่ 2 ของไทย ในสาขา Building & Construction
4. Assoc. Prof. Dr. Sanjay M. Rangappa สำนักงานอธิการบดี อันดับที่ 149 ของไทย และอันดับที่ 246,262 ของโลก อันดับที่ 7 ของไทย ในสาขา Polymers
5. ศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ กุลธนปรีดา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ อันดับที่ 194 ของไทย และอันดับที่ 328,361 ของโลก
อันดับที่ 7 ของไทย ในสาขา Artificial Intelligence & Image Processing
6. รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี ศิริปรัชญานันท์ ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม อันดับที่ 196 ของไทย และอันดับที่ 334,919 ของโลก อันดับที่ 3 ของไทย ในสาขา Networking &Telecommunications
7 นักวิจัย มจพ. ในการจัดอันดับ Single Year Citation Impact 2023 หรือ นักวิจัยที่มีการอ้างอิงตลอดปี ค.ศ. 2022 สูงที่สุด.
1. ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมันอันดับที่ 9 ของไทย และอันดับที่ 13,229 ของโลก อันดับที่ 1 ของไทย ในสาขา Polymers
2. Assoc. Prof. Dr. Sanjay M. Rangappa สำนักงานอธิการบดี อันดับที่ 10 ของไทย และอันดับที่ 13,397 ของโลก อันดับที่ 2 ของไทย ในสาขา Polymers
3. ศาสตราจารย์ ดร.ปฏิพัทธ์ ทวนทอง ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม อันดับที่ 32 ของไทย และอันดับที่ 42,815 ของโลก อันดับที่ 1 ของไทย ในสาขา Electrical & Electronic Engineering
4. ศาสตราจารย์ ดร.ปิติ สุคนธสุขกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ อันดับที่ 36 ของไทย และอันดับที่ 49,878 ของโลก อันดับที่ 3 ของไทย ในสาขา Building & Construction
5. ศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา ธารีบุญ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ อันดับที่ 126 ของไทย และอันดับที่ 134,681 ของโลก อันดับที่ 3 ของไทย ในสาขา Applied Mathematics
6. Dr. Vinod Ayyappan บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน อันดับที่ 141 ของไทย และอันดับที่ 142,151 ของโลก อันดับที่ 10 ของไทย ในสาขา Polymers
7. Dr. Indran Suyambulingam สำนักงานอธิการบดี อันดับที่ 234 ของไทย และอันดับที่ 230,301 ของโลก และอันดับที่ 14 ของไทย ในสาขา Polymers
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยทุกท่าน ที่ได้รับการจัดอันดับผลงานในระดับนานาชาติ แสดงให้เห็นว่า มจพ. มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการด้วยผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการยอมรับในแวดวงการทำงานวิจัยหลากหลายสาขาวิชาในระดับโลก ขอขอบคุณ นักวิจัยและบุคลากรทุกท่านที่ร่วมกันสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยในครั้งนี้
กาญจนา/ข่าว
พัทธนันท์/เผยแพร่