มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มจพ. ร่วมยกระดับภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุนชนบ้านเชียง ให้ทันสมัยและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
News Date23 กุมภาพันธ์ 2567
คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)   
จับมือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ Creative Young Designer Season 4 ปี
เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุนชนบ้านเชียงให้ทันสมัยและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีสไตล์ ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานมนพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ร่วมออกแบบและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ นำมาผลิตของที่ระลึกโดยยังคงเน้นอัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชนในท้องถิ่นกลุ่มอาจารย์ นักศึกษา และผู้บริหารบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วทลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ณ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มปั้นหม้อเขียนสีชุมชนบ้านเชียง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ชมของเก่าล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ที่มีอายุราว 5,600-1,800 ปี ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงมรดกโลก   เกิดจากการขุดค้นพบเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบและลวดลายงดงามอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ภาชนะดินเผาที่พบนี้มีรูปทรงของการปั้นหลายแบบและมีการเขียนลายเป็นเส้นโค้ง ลายเชือกทาบ ลายก้านขด ลายก้นหอย ลายรูปเรขาคณิต  นอกจากนี้แล้วยังมีการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำจากโลหะสำริดและเหล็ก บ้านเชียงได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาที่พบในบ้านเชียงนั้น นักโบราณคดีได้สันนิษฐานและสามารถแบ่งออกได้เป็น 3  ยุคคือ ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000-2,300 ปี และ ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300-1,800 ปี 
  
   อาจารย์ ดร.สมใจ มะหมีน หัวหน้าสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเซรามิกส์ ภาควิชาเทคโนโลยีศึกษาอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มจพ.  กล่าวว่า นักศึกษาลงพื้นที่ครั้งนี้เกิดการเรียนรู้จริงเรื่องศิลปะวัฒนธรรมมรดกโลก ทั้งรูปทรง ลวดลายเอกลักษณ์ของชาติที่มีเพียงแห่งเดียวในโลก อีกทั้งได้ซึมซับวิถีชีวิตชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เข้าใจถึงคุณค่าผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา ได้เข้าพบและได้ฟังปัญหาจากปราชญ์ชาวบ้าน อยากช่วยแก้ปัญหาชุมชน  
โดยนักศึกษาจะนำองค์ความรู้ที่มีร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มปั้นหม้อเขียนสีให้แก่ชุมชน ทั้งความรู้ด้านวัสดุ 
เครื่องมือที่ทันสมัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน กรรมวิธีการเผาที่ให้ครื่องปั้นดินเผาได้มาตรฐาน  "น้องๆ ช่วยพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ต่อยอดไปกลุ่มอื่นๆ ด้วย ทั้งกลุ่มผ้าทอ กลุ่มอาหาร กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นต้น โดยกำหนดกลุ่มผู้ซื้อให้ชัดเจน ก่อนพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผู้ซื้อ เอกลักษณ์ชาติควรอนุรักษ์ ขณะเดียวกันพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่ดียิ่งขึ้น"  อาจารย์ ดร.สมใจ กล่าวว่าสอดรับกับโครงการ Creative Young Designer Season 4  เน้นการสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต เป็นรากฐานสำคัญพัฒนาชุมชนยั่งยืน สู่เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้

ขวัญฤทัย ข่าว