เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ. จัดฝึกทักษะปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ขั้นสูงให้นักเรียน
09 กันยายน 2565
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ได้จัดโครงการ
“การฝึกทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง”
มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมโครงการ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2565 จำนวน 80 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เข้าร่วมโครงการจำนวน 132 คน และมีคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้ให้การต้อนรับและดูแลการจัดโครงการ ซึ่งโครงการนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และกระตุ้นให้นักเรียนได้นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไปในการแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง ภายในโครงการได้แบ่งกิจกรรมฐานเรียนรู้ดังนี้
กิจกรรมย่อยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งออกเป็น 3 ฐานเรียนรู้ได้แก่
-ฐานเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการสกัด DNA จากผลผลิตทางการเกษตร” วิทยากรโดย ดร.พัชรี ปราศจาก และ ผศ.ดร.วิเชียร ศรีวิชัย
-ฐานเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง “การแยกสารด้วยวิธีการกรองสุญญากาศ และการทำให้เข้มข้นด้วยวิธีการต้มระเหย ภายใต้สภาวะสุญญากาศ” วิทยากรโดย อาจารย์มีชัย ลัดดี และ คุณณัฎฐาพร เทียนดำ
-ฐานเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH” วิทยากรโดย ผศ.ดร.เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา และ ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย
2) กิจกรรมย่อยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งออกเป็น 3 ฐานเรียนรู้ได้แก่
-ฐานเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการสกัด DNA จากผลผลิตทางการเกษตร” วิทยากรโดย ดร.พัชรี ปราศจาก และ ผศ.ดร.วิเชียร ศรีวิชัย
-ฐานเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง“การไทเทรตวิตามินซีในน้ำผลไม้” วิทยากรโดย ผศ.ดร.ภัควัฒน์ เดชชีวะ และ อาจารย์พัชรี คุณจันทร์สมบัติ) และฐานเรียนรู้ที่3 เรื่อง “มหัศจรรย์เม็ดเยลลี่สร้างภูมิ (Amazing Jelly Beads)” วิทยากรโดย ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย และ ผศ.ดร.เกตินันท์ กิตติพงศ์ โครงการดังกล่าวจะทำให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเกิดทักษะการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูงแล้ว ยังเป็นการประชาสัมพันธ์คณะอุตสาหกรรมเกษตรให้เป็นที่รู้จักแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไปได้อีกด้วย
ณัฏฐาพร-ข่าว