เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
ดาวเทียมแนคแซทจะขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวด SpaceX Falcon 9 คาดหมายกำหนดการใหม่ใน วันที่ 3 ธ.ค. 61
03 ธันวาคม 2561
ตามที่บริษัทสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) เลื่อนการส่งจรวดฟอลคอน9 (Falcon 9) ครั้งประวัติศาสตร์ ภายใต้มิชชั่น SSO-A ของบริษัทสเปซไฟล์ท (Spaceflight) ที่จะส่งดาวเทียมพร้อมกันมากถึง 64 ดวงจากทั้งหมด 17 ประเทศ ซึ่งมีดาวเทียมแนคแซทของประเทศไทยรวมอยู่ด้วย จากวันที่ 28 พ.ย. 61 ออกไป เพื่อตรวจสอบความพร้อมเพิ่มเติมนั้น บริษัทสเปซเอ็กซ์ได้ประกาศ
คาดหมายกำหนดการส่งจรวดใหม่เป็น
วันที่ 3 ธ.ค. 61 เนื่องจากสภาวะอากาศไม่อำนวย ผ่านทางทวิตเตอร์ @SpaceX
การส่งจรวดครั้งประวัติศาสตร์นี้เป็นการส่งดาวเทียมพร้อมกันจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยส่งจากฐานยิงจรวดของประเทศสหรัฐอเมริกา และจะเป็นครั้งแรกที่บริษัทสเปซเอ็กซ์นำตัวผลักดัน (thruster) ของจรวดมาใช้ใหม่เป็นครั้งที่ 3 หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการนำตัวผลักดันมาใช้ใหม่เป็นครั้งที่ 2 ไปแล้ว ความสำเร็จในการนำตัวผลักดันมาใช้ใหม่ได้จำนวนหลายครั้ง จะส่งผลให้ต้นทุนและราคาการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศลดลง หน่วยงานต่างๆ สามารถมีดาวเทียมเป็นของตนเองได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะใช้สำหรับเชิงพาณิชย์หรือสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอย่างเช่นโครงการดาวเทียมแนคแซท
ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT, ย่อมาจาก King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Academic Challenge of Knowledge SATellite) เป็นดาวเทียมรูปแบบคิวแซท (CubeSat) มีขนาด 10x10x10 ลูกบาศก์เซนติเมตรและน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ดาวเทียมแนคแซทได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ สำนักงาน กสทช
ดาวเทียมแนคแซทเป็นดาวเทียมสัญชาติไทยดวงแรกที่ออกแบบและสร้างในประเทศไทย โดยทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ความสำเร็จของโครงการดาวเทียมแนคแซทนี้จะเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า คนไทยมีศักยภาพในการออกแบบและสร้างดาวเทียมและระบบต่างๆ ที่ใช้ในอวกาศได้เอง และประเทศไทยมีความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรมอวกาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ภาระกิจหลักในอวกาศของดาวเทียมแนคแซทคือ การส่งข้อมูลและถ่ายภาพจากอวกาศเพื่อทดสอบการทำงานของระบบต่างๆ ที่ออกแบบและจัดสร้างขึ้น
ติดตามข่าว กำหนดการใหม่ การถ่ายทอดสดการปล่อยดาวเทียมแนคแซท ในคืนวันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2561 เริ่มเวลา 23.50น. ตามเวลาประเทศไทย
Live Streaming:
https://www.facebook.com/www.eng.kmutnb.ac.th/videos/2120321548283622/
About Knacksat:
http://www.knacksat.space/
Credit Picture:
https://twitter.com/SpaceX
อ.สุวัฒน์/ข้อมูล
พัทธนันท์/ข่าว