เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
บุคลากร มจพ. ได้รับทุน “great!ipid4all (group2group exchange for academic talents)” จาก German Academic Exchange Services (DAAD) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดรสเดน (Technical University of Dresden) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
04 ตุลาคม 2562
ในระหว่างวันที่ 24-30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ผศ. ดร. พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล ที่ปรึกษาคณบดีด้านวิชาการและกิจการต่างประเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านอาชีวศึกษา สมศ. และรักษาการแทนหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) พร้อมด้วย ผศ. ดร. เสาวคนธ์ คุณวุฒิ ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ และ ดร. สุกาญจนา เลขพัฒน์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ระดับชำนาญการพิเศษ สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส และปฏิบัติงาน ณ สถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย มจพ. ได้เข้าพบ Prof. Dr. Gerhard Rödel รองอธิการบดีด้านวิจัย (Vice-Rector for Research) และผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัย (Director of Graduate Academy) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดรสเดน (TU Dresden) ซึ่งเป็นผู้อนุมัติทุนสนับสนุนโปรแกรม great!ipid4all of the Graduate Academy (group2group exchange for academic talents) โดย German Academic Exchange Services (DAAD) ให้ทุนแก่บุคลากร มจพ. เพื่อเป็นที่ปรึกษาร่วมฝ่ายไทย (Thai co-advisor) และนักวิจัย เพื่อปฏิบัติงานวิจัยร่วมกับนาย อดิศร โอดศรี ซึ่งปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาเอก สาขาการอาชีวศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดรสเดน โดยมี Prof. Dr. Thomas Köhler เป็นที่ปรึกษาหลักและ Prof. Dr. paed. habil. Hanno Hortsch เป็นที่ปรึกษาร่วมในการศึกษาโครงการ “Pilot study as an initiative roadmap for the establishment of Cooperation Center of excellence for TVET Training and Future Education under the cooperation between KMUTNB and TU-Dresden (Start-up phase)” ซึ่งผลการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยระดับปริญาเอกในเรื่อง “A comparative study on scientific approaches for Center of Excellence in TVET sector under the scientific aspect of the demands in Thai Education System” โดยได้เข้าร่วมประชุมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาและสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการนำเสนอรูปแบบของ “Center of Excellence in TVET” นอกจากนั้นยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของการดำเนินงานของสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย (Welding Institute of Thailand-WIT) ซึ่ง มจพ. ได้รับการรับรองจากสถาบันการเชื่อมสากล (International Institute of Welding-IIW) ทำหน้าที่ให้การรับรองบุคลากรด้านการเชื่อมในระดับสากลเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย (Authorised Nominated Body: Thai ANB) ตามมาตรฐานสากล ISO 17024 ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 ที่มีประสบการณ์การสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านอาชีวศึกษา โดยได้ให้การรับรองสถาบันอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ให้เป็นหน่วยงานฝึกอบรม (Approved Training Body-ATB) หลักสูตรเทคโนโลยีงานเชื่อม (ทลบ.) หลังจากสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรปกติแล้ว นักศึกษาสามารถสมัครเข้าสอบเพื่อรับใบประกาศ ผู้เชี่ยวชาญการเชื่อมสากล (International Welding Specialist-IWS/EQF5) ได้ ประวัติโดยย่อของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดรสเดน (TU Dresden) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1828 โดยเป็นมหาวิทยาลัยทางเทคโนโลยีที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศเยอรมัน ในปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย (Research university) ที่ใหญ่ที่สุดของเมืองเดรสเดน (Dresden) เป็นมหาวิทยาล้ยที่ใหญ่ที่สุดในแคว้นแซกโซนี (Saxony) และเป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมัน จากรายงานผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ปี ค.ศ. 2017 (รายงานใน ค.ศ. 2018) มหาวิทยาลัยเดรสเดน มีนักศึกษา 33,506 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาต่างชาติจำนวน 4,586 คน ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยอยู่ในกลุ่มพันธมิตรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นนำ 9 แห่ง ของประเทศเยอรมันที่เรียกว่า TU9 ซึ่งก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2003 โดยทั้ง 9 แห่ง เป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งมาก่อนปี ค.ศ. 1900 ได้แก่ 1) RWTH Aachen 2) TU Berlin 3) TU Braunschweig 4) TU Darmstadt
5)
TU Dresden 6) Leibniz University of Hanover 7) Karlsruhe Institute of Technology 8) TU Munich และ 9) University of Stuttgart
มหาวิทยาลัยมีอาจารย์และเจ้าหน้าที่ทุกๆประเภทรวมทั้งหมดจำนวน 11,876 คน ซึ่งเป็นอาจารย์ 7,769 คน นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังได้ให้ความสำคัญกับแหล่งข้อมูลทางวิชาการและวิจัย โดยจัดให้มีห้องสมุดที่ทันสมัยขนาดใหญ่ (ดูประกอบ) ซึ่งรวมเอกสารทุกประเภท ทุกรูปแบบใว้ในห้องสมุด ในประเทศเยอรมันห้องสมุดหมายถึงความเก่าแก่ ความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลซึ่งเป็นต้นฉบับของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน รวมถึงการให้เกียรติผู้ได้รับรางวัลโนเบิล (Noble Prize) ของนักวิทยาศาสตร์ของประเทศเยอรมัน อาทิ
Honorary president ปี ค.ศ. 2000: Prof. Dr. med.
Günter Blobel
แพทย์ผู้ได้รับรางวัล
Nobel Prize
1999 สาขาแพทย์ศาสตร์ (Medicine)
Honorary doctors ปี ค.ศ. 2002:
Walter Kohn
นักฟิสิกส์ผู้ได้รับรางวัล
Nobel Prize
1998 สาขาเคมี (Chemistry)
ปัจุจบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดรสเดน เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอันดับ 1 ใน 100 ของโลก 1 ใน 30 ของสหภาพยุโรปและ 1 ใน 10 ของประเทศเยอรมัน มหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มทางวิชาการและวิจัย ได้แก่ 1. วิทยาศาสตร์ (มี 2 คณะ) 2. วิศกรรมศาสตร์ (มี 7 คณะได้แก่ สถาปัตยกรรม วิศกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์การขนส่งและจราจร) 3. มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มี 5 คณะ 1 โรงเรียนนานาชาติ) 4. แพทย์ศาสตร์ และ 5. ศูนย์วิจัย (มี 11 ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง) มหาวิทยาลัยเดรสเดน มีความโดดเด่นด้านศูนย์วิจัยเฉพาะทางและงานวิจัย โดยที่บางศูนย์วิจัยได้รับการยอมรับให้เป็น “Cluster of Excellent” และมีผลงานงานโดเด่นในงานวิจัยหลายๆด้าน เช่น Biotechnology and Medical Technology, Magnetism and Material Sciences, Micro and Nanotechnology โดยร่วมมือกับ Silicon Saxony เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป, Transport and Infrastructure system, Business and Economics และอื่นๆ โดยมหาวิทยาลัยมีงบประมาณรวม 660 ล้านยูโร
นอกจากนี้ ผศ. ดร. พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล ผศ. ดร. เสาวคนธ์ คุณวุฒิ และ ดร. สุกาญจนา เลขพัฒน์ นักวิจัยและที่ปรึกษาร่วมฝ่ายไทย ได้เข้าร่วมประชุมกับ Dr. phil. Steffen Kersten, Institute of Vocational Education, Faculty of Education เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการความร่วมมือที่ผ่านมา และได้บรรยายเรื่องการวิเคราะห์เปรียบเทียบการสอนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศเยอรมัน (Comparative Analysis of German Institutionalized Engineering Pedagogy) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม International Engineering Educator (Ing.Paed.IGIP) ที่ได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพสากล อาทิ IGIP, IEEE เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้คุณภาพการสอนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศไทย มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งการให้ มจพ. เข้าร่วมในงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลัสูตรการสอนด้านวิชาชีพ ให้แก่มหาวิทยาลัยการศึกษาย่างกุ้ง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่จะนำมาซึ่งความร่วมมือที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ระหว่าง มจพ. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดรสเดน
ผลงานวิจัยที่ได้จากความร่วมมือทางวิชาการที่ทีมนักวิจัยของทั้งสองมหาวิทยาลัยได้นำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติ ใน ปี พ.ศ. 2562 ไปแล้วจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
ผลงานที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลสถาบันการเชื่อมสากล (International Institute of Welding-IIW)
1. Adisorn Ode-sri, Hanno Hortsch, Thomas Köhler, Saowakhon Khunnawut, “Meaning making and categorizing of the CoE for TVET to enhance a comprehensive understanding based on the analysis of experience and successful case studies, The 8
th
Asia Pacific IIW International Congress, 20-22 March 2019, Bangkok, Thailand.
“Proceeding of the 22
nd
International Conference on Interactive Collaborative Learning (ICL2019) - Volume 2, Book series “Advances in Intelligent Systems and Computing” โดยสำนักพิมพ์
Springer
ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล
Scopus
2. Adisorn Ode-sri, Hanno Hortsch, Thomas Köhler, Saowakhon Khunnawut, Sukanjana Lekapat, “Utilization Techniques and Guidelines for Benchmarking+USP within BOS in Identifying Distinct Excellence for CoEs in TVET”, 22
nd
International Conference on Interactive Collaborative Learning and 48
th
IGIP International Conference on Engineering Pedagogy, 25-28 September 2019, InterContinental Bangkok, Thailand.
3. Adisorn Ode-sri, Hanno Hortsch, Thomas Köhler, Saowakhon Khunnawut, Sukanjana Lekapat, “A Case Study of How Centers of Excellence on TVET are operated in Asia and Europe to Enhance an Understanding of Definitions and Classification”, 22
nd
International Conference on Interactive Collaborative Learning and 48
th
IGIP International Conference on Engineering Pedagogy, 25-28 September 2019, InterContinental Bangkok, Thailand.
ผศ. ดร. พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล/ข้อมูล
พัทธนันท์/Upload