เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
มจพ. มอบหุ่นยนต์ฉายรังสี UVC ฆ่าเชื้อไวรัส (โควิด-19) ให้กับ รพ.สนาม ที่ รร.นนทบุรีวิทยาลัย
13 พฤษภาคม 2564
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2564
รศ.ดร. ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี, ผศ.ดร.สถาพร วังฉาย
อาจารยประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และคณะนักวิจัย พร้อมด้วย สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ คุณมนัส ศรีวานิชภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทแมกซ์แวลู เทคโนโลยี จำกัด และ สวทช. นำคณะนักวิจัยนวัตกรรม
หุ่นยนต์ฉายรังสี
UVC ฆ่าเชื้อไวรัส (โควิด-19) ไปสาธิตการใช้งานที่ โรงพยาบาลสนามในโรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย
ซึ่งสามารถรองรับผู้ป่วยติดเชื้อได้ประมาณ 700 เตียง โดยปรับห้องเรียนเป็นห้องพักดูแลผู้ติดเชื้อ
พร้อมทั้งส่งมอบหุ่นยนต์ให้กับ โรงพยาบาลสนามแห่งนี้ไว้ใช้งาน
โดยมี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนาม และรองนายก อบจ. ดร. วิภาวัลย์ วรวรรณปรีชา, ดร. เฉลิมพล นิยมสินธ์ เลขานุการนายก อบจ.นนทบุรี ร่วมเป็นผู้แทนรับมอบ
ทั้งนี้คณะทำงานมีความตั้งใจที่จะนำผลงานจากการวิจัย ไปใช้งานจริงเพื่อช่วยเหลือประชาชน สังคมและประเทศชาติ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และพร้อมต่อยอดงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ในอนาคต
โดยมีคณาจารย์และนักศึกษาที่มีคุณภาพสร้างสรรค์และผลิตงานวิจัยเพื่อสู้ภัยโควิด-19 ครั้งนี้
ในปัจจุบันเราต้องปรับเปลี่ยนความเป็นอยู่ใหม่ โดยเฉพาะระบบการทำความสะอาดสถานที่
ที่อยู่ในระดับของการฆ่าเชื้อโรคและฆ่าไวรัส เข่น ในโรงงาน โรงอาหาร หรือสถานที่ชุมชุนชน
เป็นต้น ซึ่งมีบริเวณและมีความสูงมากพอสมควร เชื้อโรคและไวรัสสามารถที่ลอยกระจายในอากาศ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีหลอด UVC ที่มีผลงานวิจัยในการฆ่าเชื้อโรค และไวรัสได้ผลดี และ
คณะนักวิจัยจึงสนใจที่จะนำหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยการบังคับไร้สาย เพื่อลดความเสี่ยงของคนจากการทำร้ายของแสง UVC และยังมีความสามารถในการปรับความสูงให้เข้ากับห้องทรงสูงด้วยการยืดตัวขึ้นสูง
โดยนำเทคโนโลยีที่มาใช้แบ่งตามหน้าที่การทำงานดังนี้
หุ่นยนต์บังคับไร้สายด้วยสัญญาณ WIFI ที่ส่งสัญญาณการควบคุมมอเอตร์ในการเคลื่อนที่ และสามารถส่งสัญญาณภาพผ่านกล้องเพื่อความสะดวกในการควบคุม 2
กลไกการยืดตัวสูงสองเท่าตัวด้วยวงจรควบคุมระทางและตำแหน่ง 3)
เทคโนโลยีหลอด UVC ในการฆ่าเชื้อในระดับ DNA และมีความเข้มข้นสูงสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ที่ต้องการการฆ่าเชื้อโรคและไวรัส ได้แก่ สถานศึกษา ศาสนสถาน โรงพยาบาล ห้องปลอดเชื้อ เป็นต้น การขยายผลให้ยกระดับสาธารณสุขใหม่ ส่งผลกระทบให้มีการพิจารณาวิธีการใช้แสง UVC ในการฆ่าเชื้อโรค และไวรัสต่างๆ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ตระหนักถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เป็นตัวช่วยของบุคลากรทางการแพทย์ให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินเพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรมช่วยเหลือการแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถบริจาคได้ที่บัญชี “กองทุนพัฒนามหาวิทยาลัยและต้านภัยโควิด มจพ.” ธนาคารกรุงเทพ สาขา มจพ. เลขที่บัญชี 907-3-50043-2 ใบเสร็จรับเงินการบริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 02-555-2000 ต่อ 1604
พัทธนันท์/ข่าว