เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
มจพ.ร่วมกับ 3 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือจัดการแข่งขันหุ่นยนต์เพื่อตอบโจทย์ยุคอุตสาหกรรม Thailand 4.0
02 สิงหาคม 2561
ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ลงนามความร่วมมือจัดการแข่งขันการควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 “Thailand Competition on Robotic and Automation Control using Industry 4.0 Technology” ร่วมกับ 3 หน่วยงาน โดยมี ดร.บุญส่ง จำปาโพธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา (วจด.) และสมาคมเวิลด์ไดแด็ค (WORLDDIDAC Association) ร่วมกันดำเนินการจัดการแข่งขันการควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในภาคอุตสาหกรรม Thailand 4.0 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของ นักเรียน นักศึกษาในสาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ทั้งด้านการฝึกทักษะ การควบคุมระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์เชื่อมในระบบอุตสาหกรรม การออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนเทคนิคและวิธีการใช้งานเครื่องมือ เครื่องจักร หุ่นยนต์ที่ใช้ระบบการควบคุมการสั่งการด้วยระบบอัตโนมัติ รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ระบบการควบคุมหุ่นยนต์ (Robotics) และระบบอัตโนมัติ (Automation) เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาที่ได้รับการถ่ายทอดและอบรมให้เกิดทักษะ ความชำนาญ สามารถปฏิบัติงานได้จริง สำหรับการแข่งขันฯ จะจัดขึ้นภายในงานนิทรรศการสื่อการสอนใหม่“เวิลด์ไดแด็ค เอเซีย 2018”
ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี และชิงทุนการศึกษาพร้อมของรางวัล มูลค่ากว่า 600,000 บาท
ในระหว่างวันที่
10-12 ตุลาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
โดยมีสถานศึกษาสังกัด สอศ. จำนวนทั้งสิ้น 29 แห่ง รวมทั้งจากสถาบันอุดมศึกษา และภาคเอกชนเข้าร่วมในการแข่งขัน ในการนี้รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สถิรยากร คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ กีรติวินทกร ผู้อำนวยการสถาบันสหกิจศึกษาและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไทย-เยอรมัน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานินทร์ จูฉิม รองผู้อำนวยการฝ่ายสหกิจศึกษาและอุตสาหกรรมสัมพันธ์ เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561
ติดตามรายละเอียดการแข่งขันได้ที่
http://www.i40kmutnb.org/
พัทธนันท์/ข่าว
อ.ชานินทร์/ข้อมูล