เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
มจพ.ร่วมกับ กฟผ. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาเผาศพอัจฉริยะ แห่งแรกในประเทศไทย
14 พฤศจิกายน 2566
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาเผาศพอัจฉริยะ และมลพิษทางอากาศจากเตาเผาศพ รวมถึงมาตรการเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำงานของเตาเผาศพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยและการทดสอบ รวมถึงวิธีการใช้เตาเผาศพอัจฉริยะ เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2566 ระหว่างเวลา 13.00 - 16.00 น. ณ วัดโพธิ์เผือก ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยมีพระครูปลัดนนท์ กิตฺติปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เผือก นายสุขสันต์ ไชยมุสิก ปลัดอาวุโส ผู้แทนนายอำเภอบางกรวย และในการนี้ดร.วัฒนา ศักดิ์ชูวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนนทบุรี ได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อน และ PM 2.5 ในสถานการณ์ปัจจุบัน อีกด้วย ในงานได้รับเกียรติจากนายสุรศักดิ์ วิชินโรจน์จรัล นายกเทศมนตรีเมืองบางกรวย ประธานในพิธีกล่าวเปิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาเผาศพอัจฉริยะ ในครั้งนี้
นายสมศักย์ ปรางทอง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและกิจการเพื่อสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า กฟผ.มีภารกิจในการผลิตและจัดหาพลังงานไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมโดยมีนโยบายมุ่งสู่ EGAT Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ.2050 เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทางอากาศ ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การปล่อยมลพิษ การเผาขยะกลางแจ้ง การเผาศพจากเตาเผาที่ไม่มีระบบกำจัดมลพิษ และการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จากอุณหภูมิไม่สูงพอ เป็นต้น ประกอบกับเมื่อปี 2565 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้มีประกาศกำหนดให้เตาเผาศพเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม ด้วยเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวนี้ กฟผ. จึงได้ร่วมกับ มจพ. พัฒนาโครงสร้างและระบบควบคุมของเตาเผาศพให้สามารถบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีการใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานทางเลือก เช่น น้ำมันไบโอดีเซล รวมถึงควบคุมการปล่อยมลภาวะสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว จึงจัดกิจกรรมในวันนี้ขึ้นเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการฌาปนกิจนำไปปรับใช้ในการทำหน้าที่ต่อไป
สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาเผาศพอัจฉริยะ ในครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สมรัฐ เกิดสุวรรณ หัวหน้าคณะวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเตาเผาศพ ประสิทธิภาพสูง อัจฉริยะ ลดมลพิษ เป็นมิตรกับชุมชน กล่าวว่าอำเภอบางกรวยมีวัดทั้งหมด 49 วัด และมีวัดที่มีเตาเผาศพจำนวน 37 วัด ไม่มีเตาเผาศพ 7 วัด และ ใช้เตาถ่าน 4 วัด และกำลังก่อสร้างเมรุ 1 วัด ซึ่งทั้งประเทศไทยมีวัดที่มีเตาเผาศพจำนวน 25,000 วัด ซึ่งบางแห่งเป็นเตาเผาศพลดมลพิษ และเตาเผาศพประสิทธิภาพต่ำ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน และก่อให้เกิดเขม่าควันที่เป็นมลภาวะทางอากาศ สำหรับเตาเผาศพอัจฉริยะสามารถควบคุมค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องเตาเผาศพไม่เกิน 7% และควบคุมการเผาไหม้อัตโมมัติ โดยต้นแบบเตาเผาศพอัจฉริยะ เป็นแห่งแรกของเทศไทยที่มีการนำระบบไฟฟ้ามาใช้ร่วมกับน้ำมันดีเซล หรือไบโอดีเซล ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงกว่า 30% ลดระยะเวลาการเผาลงจาก 1.5- 2 ชั่วโมง เหลือ 1 ชั่วโมง ประหยัดค่าใช้จ่ายลง 20% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 10% นอกจากนี้จะมีระบบ IoT มาใช้งานติดตามการทำงานผ่านแอปพลิเคชั่น จัดเก็บข้อมูลใน Cloud บันทึกและแจ้งเตือนสภาวะต่างๆ ผ่าน Line และ E-mail นอกจากนี้ยังมีระบบไฟฟ้าสำรองในกรณีเกิดไฟฟ้าดับ อีกด้วย ในวันดังกล่าวมีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งสิ้น 87 คน และได้มอบประกาศเกียรติบัตรให้กับผู้ที่ดูแลและใช้เตาเผาศพของวัดต่างๆ ในอำเภอบางกรวย ที่มาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 15 คน
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดติดต่อได้ที่ ดร.ปิยลักษณ์ เพชรแอง นักวิจัยโครงการ โทรศัพท์ 08 9987 4241
E-mail :
dr.piyalux@gmail.com หรือ
02-5552000 ต่อ 2306 หรือ ID Line : dr.piyalux
พัทธนันท์/ข่าว