สถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย (Welding Institute of Thailand-WIT) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์พัฒนาเครือข่ายวิจัยด้านการเชื่อมวัสดุ มจพ. จัดงานประชุมวิชาการเทคโนโลยีการเชื่อมและการตรวจสอบ ประจำปี 2562 (The Symposium of Thailand Welding and Inspection Technology 2019) ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. ณ ห้อง MR214 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ในการนี้ ผศ.ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล รักษาการแทนหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมเป็นวิทยากรเสวนาเรื่อง “Welding, Why should we know?” โดยร่วมกับวิทยากรจากสถาบันการศึกษาทั้งอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสถาบันไทย-เยอรมัน ในภาคบ่ายได้มีการนำเสนอเทคโลยีด้านการเชื่อมจากภาคเอกชน ได้แก่ TRUMPF Thailand, DSI Laser Service (Thailand), BRUKER GMBH, Fronius (Thailand) Ltd. โดยมีผู้เข้าร่วมงาน 70 คน ในโอกาสนี้ ผศ.ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล ได้นำเสนอหลักสูตรฝึกอบรมซึ่งสถาบันการเชื่อมสากล (International Institute of Welding-IIW) ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้นำไปจัดเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จำนวน 3 หลักสูตร ตาม IIW Guideline ได้แก่ 1. IAB-201r1-10 หลักสูตร International Welded Structures Designer (IWSD) 2. IAB-348r1-17 หลักสูตร International Mechanized, Orbital and Robot Welding Personnel (IMORW) 3. IAB-358-15 หลักสูตร International In-Service Inspection (III) และหลักสูตร EWF AM Qualifications ในด้าน Metal parts printing อีก 3 หลักสูตร ได้แก่ 1. หลักสูตร European/International Power Bed Fusion-Laser Beam Personnel (PBF-LB) 2. หลักสูตร European/International Directed Energy Deposition-Arc Personnel (DED-Arc) 3. หลักสูตร European/International Directed Energy Deposition -Laser Beam Personnel (DED-LB) นอกจากนี้แล้วในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 สถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนา Welding and Inspection Forum # 4 ขึ้น ณ ห้อง MR211 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ระหว่างเวลา 10.00-12.00 น. โดยได้รับเกียรติจาก Mr. Reinhold Wiesmeyr, Managing Director และ Mr. Treepop Apairittirong , Welding Application Engineer จาก Fronius (Thailand) Ltd. พร้อมด้วย รศ.ดร.บวรโชค ผู้พัฒน์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมเป็นวิทยากร โดยได้นำเสนอเทคโนโลยีการเชื่อมโดยหุ่นยนต์ และการตรวจสอบระบบรางรถไฟ มีผู้ร่วมงาน 39 คน เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562
พัทธนันท์/ข่าว
สุกาญจนา/ข้อมูล