เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
สัมภาษณ์ exclusive ผศ.ดร. ศิฬาณี เผยข้อมูลหลักสูตร I-BIT (ไอบิท) ตอบโจทย์เรียน IT เพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลของจริง
09 ธันวาคม 2564
ผศ.ดร.ศิฬาณี
นุชิตประสิทธิ์ชัย ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล I-BIT (ไอบิท) เป็นหลักสูตรนานาชาติของภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดเผยว่า หลักสูตร I-BIT (ไอบิท) นี้ถูกออกแบบเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับกระบวนงาน (Process) ของภาคธุรกิจ การวางแผนกลยุทธ์ดิจิทัล การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การบูรณาการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อผสานการทำงานเชิงธุรกิจของแต่ละส่วนขององค์กร
การเรียนด้านวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นการตอบทุกโจทย์สำหรับการทำงานยุคนี้และอนาคต เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเรียนเรียนเกี่ยวกับการเขียนโค้ด (
Coding) การพัฒนาโปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ดูแลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืองานด้านซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ล้วนเกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) แทบทั้งสิ้น
ซึ่งหลักสูตร I-BIT เน้นการเรียนเจาะลึกเกี่ยวกับกระบวนการองค์กรหรือธุรกิจดิจิทัล โดยผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับองค์กรแต่ละแห่ง และเป็นนวัตกร ผู้ซึ่งสามารถคิดและวิเคราะห์ข้อมูลดิบให้กลายเป็นสารสนเทศ เพื่อประยุกต์ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ โดยจัดการเรียนการสอนที่ได้มีการลงมือปฏิบัติจริงร่วมกับบริษัทชั้นนำ และยังได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทชั้นนำ ตลอด 4 ปีการศึกษา ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเลือกที่จะฝึกงานกับภาคอุตสาหกรรม 3 เดือนในขณะศึกษาชั้นปีที่ 3 และนำโจทย์จากภาคธุรกิจมาให้นักศึกษาฝึกฝนในการแก้ปัญหาโดยเป็นส่วนหนึ่งของปริญญานิพนธ์ (2 ภาคการศึกษา ในชั้นปีที่ 4) หรือ สหกิจศึกษากับภาคธุรกิจ 4 เดือนในขณะศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยขณะนี้ ทาง มจพ. กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2564 และสมัครออนไลน์ที่ www.admission.kmutnb.ac.th
ความโดดเด่นของหลักสูตร I-BIT มุ่งพัฒนานักศึกษาให้สามารถสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนการธุรกิจเป็นรูปแบบดิจิทัล (digital transformation) โดยจัดการเรียนการสอนที่ครอบคลุมความรู้และทักษะรอบด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม ความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ และการเป็นผู้ประกอบการ หลักสูตรนี้ออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักศึกษาในแต่ละชั้นปี ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ศึกษาการเขียนโปรแกรมและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ศึกษากรอบและกระบวนการที่จำเป็นต่อ การพัฒนาแอปพลิเคชัน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ศึกษาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ศึกษาเกี่ยวกับทักษะของผู้ประกอบการและการบริหารจัดการธุรกิจ นักศึกษาของหลักสูตรนี้จะมีคุณลักษณะพิเศษ 4 ประการ คือ
1) สามารถสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เป็นองค์กรดิจิทัล โดยการทำโครงงานหรืองานวิจัยที่ได้รับโจทย์ปัญหาจากหน่วยงานของภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือภาคอุตสาหกรรม ที่มีความร่วมมือกับภาควิชา อีกทั้งนักศึกษาสามารถเลือกฝึกงานหรือทำสหกิจศึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานจริง
2) เข้าใจในกระบวนการธุรกิจ และสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการขององค์กรอย่างแท้จริง
3) มีลักษณะเป็นผู้ประกอบการ ที่มีกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ สามารถพิจารณาปัญหาและผลกระทบอย่างรอบด้าน มีความเป็นผู้นำ มีทัศนคติเชิงบวกที่พร้อมจะรับมือและแก้ไขปัญหา
4) มีความสามารถในการนาเสนอข้อมูลหรือผลงาน ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้อย่างง่าย โดยสามารถพัฒนาสื่อการนำเสนอในรูปแบบดิจิทัล
ส่วนการเปิดรับสมัครหลักสูตร I-BIT จะเป็นกลุ่มนักศึกษาที่เปิดรับสมัคร ผู้มีวุฒิ ม.6 (สายสามัญ) ที่ผ่านการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และ/หรือคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือเทียบเท่า) และสำหรับผู้มีวุฒิ ปวช. แผนกไฟฟ้า แผนกอิเล็กทรอนิกส์ แผนกแมคคาทรอนิกส์ แผนกคอมพิวเตอร์ แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทียบเท่า โดยจะเปิดรับสมัครรอบที่ 1 (TCAS#1) ถึงรอบที่ 4 (TCAS#4) ของทุกปี
ผศ.ดร.ศิฬาณี กล่าวเพิ่มเติมว่า นักศึกษาหลักสูตร I-BIT ในระดับปริญาตรี ชั้นปีที่ 1-3 ได้สร้างชื่อเสียง และคว้ารางวัลเกียรติคุณจากหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ จากการเข้าประกวดของกลุ่มมีนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างต่อเนื่อง อาทิ
1. รางวัลชนะเลิศการประกวด The AANZFTA Competition Law Essay Contest กลุ่มประเทศอาเซียน การประกวด The AANZFTA Competition Law Essay Contest กลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ภายใต้หัวข้อ Safeguarding Competition – a post pandemic response of ASEAN Competition Authorities
2. รับรางวัลเกียรติคุณจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ภายใต้โครงการประกวดสร้างนวัตกรรมแอปพลิเคชันเพื่อบริการประชาชน สำหรับกลุ่มบริการอุตสาหกรรม
3.การฝึกงานภาคฤดูร้อนประจำปี 2564 เปิดประสบการณ์ในการทำงาน และประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากในห้องเรียนสู่โลกการทำงานจริง เช่น การได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ไอบอทน้อย และการเรียนรู้การทำ unit test หรือ system test การสรุปจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ออกมาเป็่นบทความ การพัฒนาเว็บไซต์ พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของนัก Data Scientist ในเรื่องต่าง ๆ จากคอร์สเรียน BOTNOI Data Science Essential#3 เช่น Data Analytics, Data Scientist, customer segmentation, Context & Personalize Marketing หรือ Fraud investigation
4. ฝึกงานกับองค์กรชั้นนำทางด้านการตลาดดิจิทัล เช่น Digital Tips Academy ที่ได้ร่วมสร้างสรรค์Content ต่างๆ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนต์ (จำกัด) มหาชน และนักเขียนหนังสือ Best Seller เป็นต้น
5.อบรมโครงการการเรียนรู้การเขียนชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์สำหรับการสร้างนวัตกรรมสามมิติจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสำหรับสะเต็มศึกษา 2564 โดยศูนย์สะเต็มศึกษา
6.ร่วมการแข่งขันกีฬา e-sport ในเกม VALORANT ในงานสานสัมพันธ์พระจอมเกล้าพระนครเหนือFreshy game E-sports
อย่างไรก็ตามเมื่อจบการศึกษาในหลักสูตร I-BIT สามารถเข้าทำงานทางด้านระบบสารสนเทศ ได้หลากหลาย เช่น นักพัฒนาองค์กรดิจิทัล นักวิเคราะห์ข้อมูล นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ นักพัฒนาระบบสารสนเทศ ผู้ประกอบการด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำหรับการเปิดรับสมัครนักศึกษาจะมีรอบที่ 1 (TCAS#1) ถึงรอบที่ 4 (TCAS#4) โดยติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ มจพ. และสมัครออนไลน์ที่ www.admission.kmutnb.ac.th สอบถามรายละเอียดได้ที่ งานรับสมัคร กองบริการการศึกษา โทร. 02-555-2000 ต่อ 1626–1628 หรือ Facebook : กลุ่มงานรับเข้าศึกษา มจพ. สอบถามรายละเอียดได้ที่ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือที่เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/itkmutnb.bangkok/
ขวัญฤทัย ข่าว