เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
สัมภาษณ์พิเศษ ศ.ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
09 กุมภาพันธ์ 2564
ศาสตราจารย์ ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านโสตทัศนศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) และระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาครุศาสตร์ ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และเคยดำรงตำแหน่งบริหาร อาทิ หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการบริหารภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี กรรมการประจำหลักสูตรปริญญาโท-เอก สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กรรมการบริหารศูนย์วิจัยเฉพาะทาง มจพ. และได้รับเชิญเป็นกรรมการให้กับหน่วยงานราชการและเอกชน อาทิ กรรมการสภาวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินภายนอกทางวิชาการ กรรมการสภาวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการพิจารณาผลงานวิจัยโครงการ ABC-PUS สกว. ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาหลักสูตรปริญญาระดับปริญญาตรี-เอก และผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก รวมถึงการได้รับเชิญเป็นวิทยากรเกี่ยวกับการสร้าง-พัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์ Moodle e-Learning การส่งเสริมสนับสนุนการใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ สอศ. การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning การใช้เทคโนโลยี Application ในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา และการดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 40 (40
th
WUNCA) ยังเป็นนักเขียนกิตติมศักดิ์ นอกจากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ยังมีผลงานทางวิชาการ งานวิจัย บทความทางวิชาการ ตำราวิชาการ ที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่เป็นจำนวนมาก
ล่าสุด ได้รับรางวัล “อาจารย์ดีเด่น” และ “ศิษย์เก่าดีเด่น” มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อเชิดชูเกียรติอาจารย์ที่มีผลงานดีเด่นด้านวิชาการและการวิจัย
ศาสตราจารย์ ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข กล่าวว่า “...เส้นทางการศึกษาผมเป็นอาจารย์สายตรงด้านครุ
ศาสตร์ที่ตรงในทุกมิติ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ด้านครูช่างอุตสาหกรรม เป็นครูสอนอาชีพ
และมีประสบการณ์การสอนด้านอาชีวะถึง 19 ปี ก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ที่นี่ ฉะนั้นในเรื่อง
ของความเป็นอาจารย์ เป็นครูช่างอุตสาหกรรม รวมถึงได้มาเป็นครูที่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งถือได้ว่า "เป็นครูของครู"
ตรงในทุกมิติ ประการแรกคือ ที่นี่คือคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ผลิตครูช่างอุตสาหกรรม และที่นี่เป็นคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมอันดับ 1 ที่มีประวัติศาสตร์ และการผลิตครูช่างเป็นแห่งแรกของประเทศไทย จากประสบการณ์เดิมก็พร้อมนำมาต่อยอด ซึ่งการได้มาสอนที่นี่ถือว่าลงตัวมาก สามารถสร้างประโยชน์ให้กับ มจพ. ได้อย่างดียิ่ง ส่วนงานวิจัยได้มุ่งเน้นการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนารูปแบบ ปรับปรุงและศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้สมัยใหม่ในยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ การประชุมวิชาการ/การศึกษาดูงาน ในโอกาสต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนหรือแลกเปลี่ยนความรู้ โดยได้ร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษามากมาย
แนวทางในการขอเสนอตำแหน่งทางวิชาการ ในระดับอุดมศึกษา มีลำดับกำหนดขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน ซึ่งกระบวนการในการทำมีการวางทิศทางและการประเมินตามลำดับ
“ทำให้สามารถพัฒนาตนเอง หรือดำเนินการที่จะทำผลงานได้อย่างเป็นระบบ”
เช่น เริ่มจากการเป็นอาจารย์เข้ามหาวิทยาลัยที่มีรายวิชาที่สอน การสอนต้องมีเอกสารประกอบการสอน การเขียนตำรา หนังสือ หรือสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น แต่สิ่งที่เด่นชัดและสอดคล้องกับนโยบายของ มจพ. คือ มจพ. เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านการวิจัย ฉะนั้น คณาจารย์จะต้องทำวิจัยประกอบ อาทิ การวิจัยในชั้นเรียน และการวิจัยที่ขอรับทุนจากภายนอก ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก ๆ จะทำให้สามารถเตรียมความพร้อมในการขอตำแหน่งทางวิชาการได้อย่างถูกต้อง เพราะรายละเอียดที่จะยื่นเอกสารขอในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ก็คือเอกสารประกอบการสอน หนังสือ หรือตำรา และงานวิจัย ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการมาตลอดและครอบคลุม ส่วนการขอผลงานในระดับสูง เช่น รองศาสตราจารย์ ผลงานจะต้องตีพิมพ์สู่ระดับนานาชาติ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม และเมื่อมาถึงการขอผลงานศาตราจารย์ก็เน้นผลงานการตีพิมพ์ในระดับสากล และอยู่ในฐานข้อมูล ต้องอาศัยการบ่ม มีการรวมกลุ่มนักวิจัย ซึ่งตรงนี้ทำให้ได้รับและทำหน้าที่เป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวะของสำนักวิจัยวิทยาสาตร์และเทคโนโลยี มจพ. และสามารถไปขอทุนวิจัยมาพัฒนางานกับกลุ่มคณะวิจัยที่เป็นนักวิจัยระดับมหาวิทยาลัยหลายท่าน ทำให้นำผลงานไปขอตำแหน่งทางวิชาการในระดับต่าง ๆ ไม่ยาก เพราะเป็นผลงานในระดับนานาชาติทั้งหมด
แรงบันดาลใจที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการเป็นศาสตราจารย์ สำคัญที่สุดก็คือ ตัวของเรา ประการแรกคือ เราเป็นครูมืออาชีพ และไม่เคยคิดว่าจะมีอาชีพเป็นครู แต่คิดว่า “เรามาเพื่อพัฒนาคนของชาติ เมื่อคิดในมุมและมิตินี้ สำคัญที่สุดคือนักศึกษาของเรา ผลของชาติผลงานทั้งหมดจะสะท้อนไปที่ตัวนักศึกษาทั้งหมด กล่าวคือ เมื่อทำวิจัยและพัฒนาอะไรต่าง ๆ ขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์แก่นักศึกษา เพื่อสร้างคนที่ต้องออกไปเป็นครูช่างอุตสาหกรรม” ประการที่สองคือ สถานภาพของมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ระดับ World Class เมื่ออยู่ในสถาบันที่มีเกียรติภูมิที่ยิ่งใหญ่อย่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือต้องทำตัวให้สมฐานะ สมเกียรติ ต้องพัฒนาตนเอง พัฒนานักศึกษาให้ขึ้นสู่ระดับโลกด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจอย่างยิ่ง และประการที่สาม คือ ครอบครัว คุณพ่อ-คุณแม่ก็รับราชการครู อยู่ในบ้านพักครูมาตั้งแต่สมัยเด็ก ก็มีความสุขมากกับการได้ทำงานร่วม การได้อยู่กับคุณพ่อกับคุณแม่ที่เป็นครูก็เลยทำให้เกิดความภาคภูมิใจในอาชีพนี้ พอมาเป็นอาจารย์ก็เป็นแรงบันดาลใจให้พยายามพัฒนาทั้งตัวนักศึกษา เพื่อนร่วมงานและสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาอย่างเต็มที่เต็มกำลัง
ความยากและอุปสรรคในการเตรียมตัว ที่เป็นความท้าทายมากที่สุดคือ เป็นเรื่องของกำลังใจ และเรื่องของระดับชั้นของผลงานคือการขอตำแหน่งวิชาการพอขึ้นสูงระดับรองศาสตราจารย์หรือศาสตราจารย์จะเป็นระดับสากล ส่วนปัญหาที่ค่อนข้างมากคือ “ผมจบการศึกษาในประเทศ ฉะนั้นผลงานที่ขึ้นสู่ระดับสากลทำให้ต้องพัฒนาตนเองค่อนข้างมาก ความยากนั้นก็คือต้องเข้ากลุ่มนักวิจัยกับนักวิจัยชั้นนำของมหาวิทยาลัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี ได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยชั้นนำใน มจพ. ที่อยู่ระดับ World Class หลายท่านทำให้เห็นผลงานประเภทต่าง ๆ ว่า การทำผลงานในระดับโลกทำอย่างไร แล้วความได้เปรียบของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี วิธีคิดของมหาวิทยาลัยต้องทำผลงานที่สร้างสิ่งใหม่ให้กับสังคมสร้างองค์ความรู้ใหม่ซึ่งเป็นความยากต้องตอบคำถามให้ได้ว่าองค์ความรู้ใหม่คืออะไร ผลงานระดับนานาชาติคืออะไร ซึ่งจะต้องไปนำเสนอในระดับนานาชาติ การตีพิมพ์ในฐานสากลจะเป็นความยากมาก แต่ทั้งหมดนี้ได้โอกาสจากการที่ได้ทำงานร่วมกับนักวิจัย และกับผู้บริหารที่กำหนดเงื่อนไขและต้องให้นโยบายสนับสนุน นับเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ความยากหากจะผ่านไปให้ได้ต้องอาศัยตัวเราเอง ในบางครั้งไม่สามารถจะผ่านอุปสรรคที่ยากลำบากในหลากหลายประเด็น แต่หากได้รับการสนับสนุนได้อยู่ร่วมกับกลุ่มนักวิจัยที่มีศักยภาพสูง ความยากนั้นก็ทำให้สามารถผ่านพ้นไป และมีหนทางวิธีการดำเนินการไปได้ ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยที่ให้การสนับสนุนในทุก ๆ มิติของการวิจัยและทำผลงานระดับนานาชาติ ทำให้ผ่านพ้นช่วงที่ยากลำบากไปได้
สิ่งที่ประทับใจในรั้ว มจพ.
“ที่นี่คือมหาวิทยาลัยวิจัยติด 1 ใน 10 ของประเทศที่อยู่ในระดับ
World Class Rankings ไปที่ไหนได้รับการต้อนรับอย่างดีมาก และเมื่อพูดถึงมหาวิทยาลัย จะเป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อถือ ประทับใจทุกครั้งที่เวลาบอกว่ามาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยได้รับเสียงตอบรับจากทุกเวทีที่ไป” มจพ.
เป็นองค์กรที่ใหญ่และเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ที่มีการทำงานร่วมกับคณาจารย์ นักศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนการจากผู้บริหารในการทำวิจัยหรือพัฒนางานต่าง ๆ ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีทั้งจากงบประมาณ กระบวนการอย่างเพียงพอ จึงภูมิใจมากที่ได้อยู่ในรั้วของ มจพ. และสิ่งนี้ก็จะรักษาไว้และพยายามจะทำให้ชื่อเสียงของ มจพ. เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางที่สามารถอยู่ในระดับนานาชาติในภายหน้าต่อไป
การทำผลงานทางวิชาการหรือเรื่องของการพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการหรือการสอน
หลักคิดข้อแรก คือ “ให้มองเป้าหมายไปที่นักศึกษาว่าเป็นลูก-หลาน เรากำลังทำทุกอย่างให้เจริญรุ่งเรือง เมื่อมีความคิดเช่นนี้การสอนก็จะทุ่มเทได้อย่างเต็มที่ เพราะนี่คือสอนลูก-หลาน” ซึ่งงานที่กำลังพัฒนาเป็นงานที่กำลังช่วยลูกเรากำลังพัฒนาลูกศิษย์ และมองภาพกว้างออกไปอีกว่าเราเป็นหนึ่งของสังคม และก็เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย หลักคิดข้อที่สอง คือ มจพ. เป็นครอบครัวของเรา สิ่งที่เรากำลังทำเพื่อให้ครอบครัวมีความสุข ผลจากการที่ไปสอนหรือทำวิจัยต้องอาศัยกำลังใจอย่างมาก
เมื่อคิดว่าสิ่งที่ทำเพื่อครอบครัวเพื่อลูก-หลานนั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจ จุดเริ่มต้นของความพยายามที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ จุดเริ่มต้นที่จะเป็นจุดที่ทำให้เกิดศรัทธาในองค์กร และมีความรักต่อลูกศิษย์ มีความยินดีต่อผู้ร่วมงาน
จะไม่รู้สึกว่าสิ่งที่กำลังพบปัญหาในเรื่องการทำผลงาน การทำวิจัยจะเป็นเรื่องที่ลำบาก แต่มันเป็นเรื่องที่ต้องผ่านไปให้ได้ สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนสามารถขับเคลื่อนตนเองได้ ไม่มีใครช่วยอะไรได้มากกว่าการผลักดันและขับเคลื่อนตนเอง
ฝากข้อคิดให้บุคลากรมีแรงบันดาลใจในการนำเสนอผลงาน สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจสูงสุดก็คือ อาจจะบอกว่าเป้าหมาย หรือความสำเร็จในการไปสู่ตำแหน่งเป้าหมาย แต่เป้าหมายนั้นมันขาดความรู้สึกที่เป็นพื้นฐาน “ว่าจะทำไปเพื่ออะไร ทำเพื่อใคร” เป้าหมายนั้นมันก็จะเลื่อนลอย จึงอยากจะฝากอาจารย์และนักวิจัยพัฒนาตนเองให้คิดถึงว่ากำลังทำเพื่อลูก-หลาน ครอบครัวของเราอย่างน้อยที่สุดก็เพื่อตัวเราเองจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอุดมศึกษาซึ่งมหาวิทยาลัยของเราเป็นมหาวิทยาลัยที่ต้องแข่งขันในระดับนานาชาติระดับโลกฝากให้กับท่านอาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยในรุ่นต่อ ๆ ไป
ในโอกาสวาระพิเศษนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ขอแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข ผู้มีบทบาทสำคัญในวงการศึกษา วิจัยในสาขาครุศาสตร์ มีผลงานทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง มีความมุ่งมั่นนำองค์ความรู้ความสามารถด้านวิจัยและประสบการณ์ด้านวิชาการ ไปพัฒนาองค์ความรู้อย่างรอบด้าน เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม จนได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ นับเป็นเกียรติประวัติที่มีคุณค่าคู่มหาวิทยาลัยสืบไป
ขวัญฤทัย ข่าว/วุฒิสิทธิ์-ประจักษ์เวช ถ่ายภาพ