เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
สัมภาษณ์ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมงาน KMUTNB INNOVATION AWARDS 2020
06 กุมภาพันธ์ 2563
งานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือประจำปี 2563 (KMUTNB INNOVATION AWARDS 2020) เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดโดยสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้เสร็จสิ้นมีผู้สนใจและเข้าชมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มเป้าหมายก็จะเป็นน้องๆ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวะศึกษา และบุคคลทั่วไป ที่มีความสนใจด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมร่วมเข้าการประกวดดังกล่าว บรรยากาศคึกคัก แน่นไปด้วยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆ จากไอเดียสร้างสรรค์ของเด็กๆ รุ่นใหม่ ที่มองว่าสิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ หรือสนองความต้องการของมนุษย์ สามารถต่อยอด และพัฒนาได้จากเวทีนี้ที่เปิดโอกาสให้เป็นเวทีระดับชาติในการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมก็เป็นไปได้ วันนี้กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ มจพ. ลงพื้นการจัดงานเข้าไปทักทาย พูดคุย กับเยาวชนรุ่นใหม่ๆ และคุณครูที่ปรึกษาโครงการ ว่าเขาเหล่านั้นมีมุมมองในการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์กันอย่างไร ตามไปฟังบทสัมภาษณ์ไอเดียสิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมจากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่กัน
1. น.ส.อินทิรา อิงเอนุ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จ.สกลนคร ชอบบรรยากาศที่ มจพ. จัดงานได้ดี
เพราะว่าบูธจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมมากมาย “แต่ละชิ้นเด็ดๆ เสริมสร้างแนวคิดและให้ความรู้สุดยอดมากเลยค่ะ” ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.2 พอมาเห็นการจัดงานครั้งนี้อยากจะมาเรียนที่นี่ แล้ว!! แต่ยังไง ณ ตอนนี้ยังไม่แน่ใจ เพราะสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมที่สนใจ ดูแล้วตอบโจทย์หนูได้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ประหยัดเวลา ให้ความสะดวกสบาย ดูจากหลายโครงการทำให้เกิดไอเดียมากๆ เช่นกัน
2. นายไททัศน์ กันทา โรงเรียนวัชรวิทยา จ. กำแพงเพชร ผมมา “ร่วมงานปีนี้เป็นปีที่ 2 แล้วครับ ปีที่แล้วไม่ได้รางวัลอะไรเลยครับ แต่พวกเราได้ประสบการณ์ ได้เห็นไอเดียการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์” จากที่อื่นๆ ทำให้ทีมงานเรากลับไปสร้างสรรค์ผลงานเพื่อนำมาส่งประกวดในครั้งนี้อีก ผมติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์งานนี้จากเว็บไซต์ประขาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย และสมัครร่วมแข่งประเภทนักเรียน ชอบการจัดแสดงโครงการของ มจพ. ครับ และปีนี้มากับเพื่อน 2 คน ปีนี้แอบคาดหวังเผื่อได้รางวัลกลับไป ประทับใจงานครั้งนี้ มันคือประสบการณ์ตรงที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและได้เรียนรู้ว่าทักษะของตนเองอยู่ระดับไหน ควรต้องปรับปรุงอะไร และเน้นอะไรในทิศทางที่งานเขาต้องการ “ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมก็หวังจะเข้ามาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แห่งนี้ครับ
น.ส.รัตติยากร สุวรรณทอง โรงเรียนวัชรวิทยา จ. กำแพงเพชร มาร่วมแข่งประเภทนักเรียนกับนายไท
ทัศน์ กันทา โรงเรียนเดียวกันมาร่วมเป็นปีที่ 2 แล้วเช่นกัน วันนี้มาพร้อมผลงานคือ “เครื่องผัดกะเพรา Machine” เป็นการนำเสนอไอเดียที่เยี่ยมค่ะ ประหยัดเวลา มีช่องเติมเครื่องปรุง วัตถุ หลายช่อง เครื่องทำงานอัตโนมัติ ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟรั่ว มีความปลอดภัย เครื่องใช้เวลาสร้าง 3 เดือน ที่ได้พัฒนาจากเวอร์ชั่น ที่ 1 มางานนี้รู้สึก “ประทับใจงานครั้งนี้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนที่มาจากหลายๆ ที่
น.ส.พิชชากร สมธรรม โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จ. สุพรรณบุรี ส่งผลงาน NKWC สำหรับการ
ดูแลและฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ส่วนกล้ามเนื้อส่วนล่าง มีตัวบริหารด้านล่างที่เป็นอุปกรณ์นวด ต้นทุนประมาณ 6 หลัก ใช้เวลาพัฒนามาแล้ว 6 ปี จะพัฒนาใช้เสียงสั่งการ ปีนี้ก็เป็นปีที่ 2 ปี แล้วที่มาร่วมงาน “ชอบการจัดงาน ได้พบเพื่อนๆ ที่มาประกวด เวทีประกวดแบบนี้ให้ประสบการณ์นอกห้องเรียนที่ดีมากค่ะ”
เมื่อถามถึงว่าอยากมาเป็นลูกพระจอมไหม น้องตอบเสียงดังฟังชัดเจนว่า “หนูสอบติด คณะวิทยาศาสตร์
ประยุกต์ จากโครงการเรียนดี” สุดยอด ขอแสดงความยินดีด้วย
น.ส.อารียา ระรอกแก้ว นายวีรศักดิ์ จันทรา โรงเรียนครุประชาสรรค์ จ. ชัยนาท มาร่วมเป็นครั้งที่ 2
ชอบค่ะ เพราะได้ประสบการณ์จริงตั้งแต่การออกแบบ-การสร้างหุ่นยนต์ ได้ร่วมแชร์ไอเดีย การทำงานเป็นทีม และครั้งนี้ มาแสดงผลงานหุ่นยนต์ผู้ช่วยอัจฉริยะสามารถช่วยแยกยา ทุกขนาดได้โดยอัตโนมัติ โดยป้อนข้อมูล เขียนโปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์
“ผมก็สนใจอยากที่จะมาเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ.”
นายนิพนธ์ มีวัฒน์ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม กรุงเทพฯ เมื่อก้าวมาที่ มจพ. สิ่งแรกที่สัมผัสและ
ประทับใจคือ
“การต้อนรับที่อบอุ่น และพิธีเปิดที่อลังการครับ”
ชอบกิจกรรมนี้มากเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนที่สนใจด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมได้ใช้เวลาที่เป็นประโยชน์ ได้มาแข่งขันกันและได้นำความรู้มาใช้งานได้จริงๆ และปลื้มกับรางวัลเกียรติบัตรที่ได้มอบให้ ก่อนหน้านี้มีเพื่อนๆ มาร่วมงาน 4 ปี แล้ว
อนาคตผมอยากเรียนที่ มจพ. ผมว่า มจพ. ยิ่งใหญ่ อลังการดีครับ และผมสนใจอยากเข้าศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
สำหรับคุณครูที่มากับน้องๆ นอกจากสอนหนังสือ “ครู” ยังทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลนักเรียนจากการทำโครงการ (
Project) แล้ว ยังมีการเสริมองค์ความรู้นอกห้องเรียนที่สำคัญ ตลอดจนการเป็นที่ปรึกษาโครงการดีๆ มาจัดแสดงในงาน ทีมงานเราก็ไม่พลาดค่ะ แว๊บๆ เข้าไปพูดคุยกันต่อเลยค่ะ
นายสุวัช มูลเมืองแสน อาจารย์ โรงเรียนสกลราชวิทยากุล จ. สกลนคร ทราบข่าวจากโครงการ
ของห้องเรียนพิเศษคอมพิวเตอร์ เพื่อพานักเรียนมาอบรมและศึกษาดูงานคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ติดต่อมหาวิทยาลัยไว้แล้ว โดยเมื่อเช้าก็นำนักเรียนเข้าศึกษาดูงานมาก่อน ปีนี้ไม่ได้ส่งนักเรียนมาร่วมประกวด แต่ให้มาร่วมงาน
“มาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ให้เด็กๆ เกิดไอเดียความคิด มาเจอกับพบนวัตกรรมใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้นักเรียนชั้น ม.2 ซึ่งยังเด็กอยู่ เมื่อได้มาก็ได้แนวคิดใหม่ ได้จุดประกายความคิดต่อยอดขึ้นไป”
ในชั้นเรียนเป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีหลายสาย เช่น หุ่นยนต์ กราฟิก หลายๆ ด้าน ก็แล้วแต่ว่านักเรียนจะชอบด้านไหน ผมกับนักเรียนก็เดินทางมาด้วยรถบัสกว่า 100 กิโลเมตร
นายชาตรี ศรีม่วงวงศ์ โรงเรียนวัชรวิทยา จ.กำแพงเพชร มาเป็นครั้งที่ 2 ที่มา โดยติดตาม
ข่าวสารประชาสัมพันธ์จากเฟซบุ๊ก ครั้งแรกทราบจากเว็บไซต์ที่ประกาศ Contest War โดยพานักเรียน 1 คน เครื่องผัดกะเพรา Machine และเป็นไอเดียของคุณครู เป็น ต้มยำกุ้ง ลักษณะกึ่งอัตโนมัติ ไม่ทราบว่าปีนี้จะได้รางวัลไหม? แต่ก็จะทำให้ดีที่สุด การจัดงานชอบเพราะเป็นเวทีให้เด็กแสดงความสามารถ ยิ่งมีเวทีให้เด็กฝึกปรือความสามารถ ยิ่งทำให้เค้าคิดค้นอะไรใหม่ๆ ได้ คือได้ประโยชน์สองทาง คือนำเสนอผลงานด้วยและเห็นผลงานของคนอื่น ก็นำไปประยุกต์ได้ซึ่งการมาสองครั้ง ก็ได้ดูลู่ทางแล้ว ต้นทุนของเครื่องไม่แพง เพราะมีการวางแผนพัฒนาก่อน เรื่องรูปทรง โดยพัฒนาโครงไม้ก่อน เพราะออกแบบง่าย แล้วจึงไปเป็นสแตนเลสเพราะเป็นเรื่องของอาหาร
3. นางดวงดาว บดีรัฐ โรงเรียนวัชรวิทยา จ.กำแพงเพชร ชอบงานที่ มจพ. จัดลักษณะนี้ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้นำเสนอความคิดของตนเองผ่านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เขาสนใจ ก็จะยิ่งให้เขามีประสบการณ์ มีวิธีการคิดที่เป็นระบบ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความรู้กับร่วมงาน นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่นักเรียนเองได้โชว์ศักยภาพของตนเอง
4. นายวีรศักดิ์ จันทรา โรงเรียนครุประชาสรรค์ จ. ชัยนาท มาร่วมงานเป็นปีที่ 2 แล้ว ตนเองเป็นศิษย์เก่า มจพ. เรียนจบในระดับปริญญาโท คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ผมได้นำเด็กๆ มาชมงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพราะอยากให้เด็กได้เจอนวัตกรรมหลากหลาย ที่มหาลัยแห่งนี้ เนื่องจากการจัดบูธโชว์มีหลายๆ อย่างที่น่าสนใจ หลายระดับ ทั้งผู้ประกอบการ นักศึกษา อาจารย์ ซึ่งก็มีงานวิจัยใหม่ๆ เยอะ สามารถเป็นไอเดียให้เด็กๆ ได้ด้วย ส่วนตัวครูเองก็สามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนในสาขาคอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน
สิ่งเหล่านั้นก็เป็นมุมมองจากครูถึงนักเรียนที่ในยุคนี้ใครๆ ก็ให้ความสนใจด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เพราะมันคือ ตัวบ่งชี้ของการคิดริเริ่มและสร้างนวัตกรรมที่สามารถขับเคลื่อน เพื่อสนับสนุนการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในสถานศึกษาในด้านสิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ การจัดโครงการประกวดดังกล่าวยังเป็นอีกหนึ่งพลังที่กระตุ้นและส่งเสริมเยาวชนที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเป็นเวทีแห่งการสร้างสรรค์ ประดิษฐ์คิดค้นผลงาน สร้างองค์ความรู้ ซึ่งส่งผลให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มเยาวชนที่สามารถแสวงหาองค์ความรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจได้ไม่ยาก เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ในยุคนี้เราจึงได้เห็นนักประดิษฐ์ตัวน้อย รวมถึงผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ที่มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเยาวชนเหล่านี้ไม่ได้มองเป้าหมายแค่การเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์หรือเจ้าของธุรกิจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เขาคือทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ เพราะปัจจุบันเยาวชนคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็น “พลเมืองโลก” หรือที่เรียกว่า Global Citizen เพิ่มมากขึ้น
ขวัญฤทัย ข่าว –ภาพ