เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
สัมภาษณ์พิเศษ “ย้อนรอยทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot มจพ. รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
05 สิงหาคม 2565
ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย
iRAP Robot
นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
คว้า
3 รางวัล ในการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโลก “World RoboCup Rescue 2022” ได้แก่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ
Best-in-class Mobility
(รางวัลหุ่นยนต์ที่มีสมรรถนะยอดเยี่ยม) และ
Best team description papers
(รางวัลนำเสนอข้อมูลทีมหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม)
โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันรวม 14 ทีม จาก 10 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรีย แคนนาดา จีน เยอรมัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และไทย แข่งขันเมื่อวันที่ 13-16 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ซึ่งที่ผ่านมาทีม
iRAP Robot
จาก มจพ. ได้เคยคว้ารางวัลในเวทีโลกมาแล้วมากมาย โดยเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้นับว่าได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดทำให้ในปี 2565 ทำให้เราเป็นรองแค่ทีมจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศแห่งเทคโนโลยีสุดล้ำอันดับต้นๆ ของโลก การแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์สำคัญสำหรับทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot ที่จะพัฒนาทีมต่อไปในอนาคต
นายฐิติยศ ประกายธรรม ตัวแทนทีมนักศึกษา
กล่าวว่า “การเข้าแข่งขันในปีนี้มีอะไร ที่แตกต่างจากปีก่อนๆ ที่เราเคยเข้าร่วมการแข่งขันมากมาย ซึ่งปัจจุบันหุ่นยนต์มีการปรับเปลี่ยนทั้งโครงสร้างและระบบซอฟต์แวร์เพื่อให้สอดคล้องต่อการทำระบบอัตโนมัติ ตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหุ่นยนต์ ได้แก่ การเปลี่ยนระบบส่งกำลังที่แขนหุ่นยนต์เพื่อให้สามารถพัฒนาไปเป็นระบบอัตโนมัติได้ง่ายขึ้น และในส่วนของซอฟต์แวร์นั้น เช่น การพัฒนาระบบการทำแผนที่จากสองมิติเป็นสามมิติ นอกจากนี้เป้าหมายถัดไปของทีม ได้แก่ การที่หุ่นยนต์สามารถวิ่งสำรวจพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง และพัฒนาระบบช่วยเหลือคนขับสำหรับบังคับแขนหุ่นยนต์เพื่อให้ง่ายต่อการบังคับ ในอนาคตเราจะพัฒนาหุ่นยนต์ของเราให้ทันสมัยสามารถใช้งานได้ในหลายมิติอย่างสมบูรณ์แบบ” นายฐิติยศ กล่าว.
โดยอาจารย์ผู้ดูแลและที่ปรึกษาทีม
ผศ.ดร.อมรพันธุ์ พันธุ์โอภาส ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ได้เปิดเผยเกี่ยวกับการแข่งขันครั้งนี้ว่า “ผมรู้สึกประทับใจในผู้เข้าร่วมแข่งขันจากต่างประเทศ เนื่องจากเราได้เห็นนวัตกรรม และแนวคิดที่หลากหลายเพื่อเพิ่มโอกาสในการปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับคำแนะนำที่อยากจะบอกกับน้อง ๆ ที่สนใจสามารถศึกษาดูกฎกติกาได้ที่ rrl.robocup.org ถ้าหากยังอยู่ในระดับมัธยมศึกษาจะมีอีกลีกการแข่งขันที่เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กเพื่อลดความซับซ้อนทั้งในการวางแผนงาน และโครงสร้างหุ่นยนต์ อีกทั้งได้แลกเปลี่ยนความรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ และที่สำคัญที่สุดคือการได้พบเจอผู้คน และสังคมที่หลากหลายขึ้น นอกจากนี้หากสนใจในรายการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยสามารถติดต่อสอบถามได้ทางเพจเฟซบุ๊ค iRAP ROBOT” ผศ.ดร.อมรพันธุ์ กล่าว.
ท้ายนี้
รศ.ดร.ธีรวัช บุณยโสภณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ในฐานะผู้บริหาร มจพ. เปิดเผยว่า “ทีมผู้บริหารให้ความสำคัญกับทีมหุ่นยนต์กู้ภัยของเด็กไทย ที่สามารถจะไปได้ไกลมากกว่าอยู่แค่ในห้องเรียน กว่า 10 ปีที่ มจพ. เข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยในระดับโลกซึ่งเราผ่านอุปสรรคมากมาย เคยได้ทั้งแชมป์โลกและรองแชมป์ และมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในการแข่งขันกับนานาประเทศที่เป็นผู้นำแห่งเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา อังกฤษ จีน หรือแม้แต่ญี่ปุ่น ซึ่งนักศึกษทีม มจพ. สามารถทำผลงานได้เป็นอย่างดี
และเราก็ภูมิใจที่ประสบการณ์ในการแข่งขันหุ่นยนต์ ทำให้ มจพ. สามารถต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเหลือสังคมในหลายๆ ด้าน เช่น หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด EOD ส่งมอบให้กองทัพบกไปใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ หุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์ ส่งมอบให้ วชิรพยาบาลเพื่อใช้ในสถานการณ์โควิด-19 หุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอยฆ่าเชื้อโรค ที่ส่งมอบให้กับชุมชน วัด โรงพยาบาล หน่วยงานราชการต่างๆ นำไปใช้ฉีดฆ่าเชื้อโรคจากวิกฤตโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่
และยังมีอีกหลายนวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากประสบการณ์การแข่งขันหุ่นยนต์โลกจากรุ่นสู่รุ่น และมหาวิทยาลัยยังคงต้องพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมไปตามแนวโน้มด้านหุ่นยนต์ของโลกที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การใช้งานในอนาคต” รศ.ดร.ธีรวัช กล่าวปิดท้าย.
ติดตามผลรางวัล
https://rrl.robocup.org/2018-awards/
ติดตามรายละเอียดหุ่นยนต์
https://www.facebook.com/iraprobot
พัทธนันท์/ข่าว
วุฒิสิทธิ์/ภาพ