มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
สำนักวิจัยวิยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจพ. จัดงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ประจำปี 2563 ชิงรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
News Date03 กุมภาพันธ์ 2563
ศ.ดร.สมฤกษ์  จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2563 KMUTNB Innovation Awards 2020 ชิงถ้วยพระราชทานรางวัล Grand Prize สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พร้อมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประกวดจากทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้สนใจจากสถาบันการศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา บริษัทเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปจากทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 200 ผลงาน โดยมีสำนักวิจัยวิยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจพ. เป็นผู้จัดงาน ในปีนี้แบ่งผลงานที่เข้าร่วมประกวดออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) ประเภท Innovative Student Projects 2) ประเภท Innovative Ideas และ 3) ประเภท Innovative Products โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนนักเรียนและประชาชนทั่วไป มีเวทีได้แสดงออกถึงความรู้  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้านงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานประโยชน์ระหว่างผู้ประดิษฐ์และผู้ที่สนใจ ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้มีความก้าวหน้า และนำไปใช้ประโยชน์ สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้
ทั้งนี้ ในช่วงสุดท้ายของงานมี รศ.ดร. เสาวนิตย์ สุขภารังษี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจพ. เป็นประธานมอบรางวัล  โดยคณะกรรมการได้ประกาศผลการตัดสิน ผลงานที่ได้รับรางวัล Grand Prize พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งคัดเลือกจากผู้ชนะเลิศทั้ง 3 ประเภท ผลปรากฎว่า ผลงานเรื่อง นวัตกรรมห่อผลไม้จากวัสดุธรรมชาติ โดย นายธีรภัทร ศรีแก้ว นายทวีทรัพย์ สร้อยสน นางสาวผกาพรรณ ไชยวงษ์ จากโรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" เป็นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้รับรางวัลดังกล่าวไป โดยมีผลรางวัลในแต่ละประเภทดังนี้
ประเภท : Innovative Student Projects
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง นวัตกรรมห่อผลไม้จากวัสดุธรรมชาติ โดย นายธีรภัทร ศรีแก้ว นายทวีทรัพย์ สร้อยสน นางสาวผกาพรรณ ไชยวงษ์ จากโรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงานเรื่อง เครื่องแจ้งเตือนไฟป่าระยะทางไกลผ่านระบบ LoRa ควบคุมการทํางานผ่าน IOT โดย นางสาวณัชชา  พรวนหาญ นางสาวณัฐวรา  เต็มมา นายอดิศร  โอภาษี นางสาวประภัสษร  เปี้ยสาย นางสาวปริยฉัตร  อุ่นทองมา จากวิทยาลัยเทคนิคลำปาง ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงานเรื่อง อุปกรณ์ควบคุมความเร็วยานพาหนะแบบอัตโนมัติ โดย นายปกรณ์เกียรติ  เจียรัตนเจริญ นายนิภาสพิชณ์  ม่วงศรี นายณนฐกร  ชูประยูร จากโรงเรียนธัญรัตน์ ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง SPWC  สำหรับการดูแลและฟื้นฟู โดย นายพงศ์ธาริน  เทศนิเวศน์ นางสาวพิชชากร  สมธรรม นางสาวศิวพร  บุญรอด จากโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ผลงานเรื่อง มีดกรีดยางสายฟ้า โดย นางสาวปรียาภัทร์  ผิวผ่อง นางสาวปรียาภร  ผิวผ่อง นายเมธี  หนอกกระโทก นายสิทธิพงษ์  ศรีสมบูรณ์ นางสาวอรอนงค์  คาวา จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ และผลงานเรื่อง เครื่องตรวจจับ แจ้งเตือน และลดฝุ่นละออง (PM 2.5) ในอากาศด้วยเทคโนโลยีนาโนควบคุมโดย IOT  โดย นางสาวกานต์สินี  ธรรมวงค์ นางสาวพัชราภา  สัจจะญาติ นางสาวพิชญา  มโนคำ นางสาวกมลวรรณ  ตุงใย นางสาวทิพวรรณ  สีทิ จากวิทยาลัยเทคนิคลำปาง ได้รับเงินรางวัลผลงานละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
ประเภท : Innovative Ideas
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง พานาวิ โดย นายชโนทัย หวังมนตรี นางสาววริศรา  มุกดาสนิท และนางสาวปูริดา ลาน้ำเที่ยง จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงานเรื่อง เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานไม้ฟืน โดย นายสุกฤต  อุจะรัตน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงานเรื่อง อุปกรณ์ฝึกนั่งและยืนทรงตัวแบบมีการป้อนกลับด้วยการมอง โดย นายสุรดิษ  พวงสมบัติ นายโชคอนันต์  รันนะโคตร นายดิษยบดินทร์  ขันผนึก นายเกียรติสิน  กาญจนวนิชกุล จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง ตู้กดรักษ์โลก โดย นายวัชรพงษ์   หอมทอง นางสาวสุธิรัตน์  เตชะเทียนวิจิตร นายเอนกพงศ์  เหมือนสมัย นางสาวอันนา  เมษะมาน นายพงศภัทร์  ธนาพงศ์สมนึก จากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ผลงานเรื่อง อุปกรณ์สำหรับการหยอดตา โดย นายสิทธิโชค  เรืองทอง นายนัฐธิวัฒน์  สายกันดก นายนิธิพัฒน์  ธิติพิริยะ นายจิรายุ  ตันติพุทธ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และผลงานเรื่อง วุ้นเส้นเซเลอรี่แคลอรี่ต่ำ  โดย นางสาวณัฏฐ์ระพี  แป้นจันทร์ นางสาวนภสรณ์  พันธุ์พิน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับเงินรางวัลผลงานละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
ประเภท : Innovative Products
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง PATHOGEN Seeker: นวัตกรรมนาโนปริซึม-แอปตาเมอร์ สำหรับตรวจหาเชื้อ Salmonella Typhimurium ที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร โดย นายอภิวัฒน์  เพ็ชรสหาย นางสาวเขมฤทัย  ถามะพัฒน์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงานเรื่อง ผ้าและถุงกอบแกลบ โดย นายพลัฏฐ์  บุญพลอยเลิศ
นายคุณัญญ์ภาส  ภู่ระย้า นางสาววรรณ์ธิรา  บุญพลอยเลิศ นางสาววันทนีย์  บุญพลอยเลิศ นางสาวปัทม์  ปัญญานุตรักษ์ จากบริษัท คีอะพาซ จำกัด ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงานเรื่อง เครื่องล้างผักผลไม้ด้วยระบบอิเล็คโตรคลอริเนชั่น โดย นายธนพล  หวานสนิท จากบริษัท โปรลอก ไทเทเนียม คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง ชุดตรวจหมู่เลือดโดยอาศัยอนุภาคทองคำระดับนาโน โดย นางสาวพุทธิดา  ฤกษ์ปฐมศักดิ์ นางสาวปัณวรรธน์  จันทร นางสาวสิรินารถ  ชูเมียน นายฌลณต  เกษตร จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง อุปกรณ์ช่วยระบายหนองและสารคัดหลั่งอัจฉริยะ และผลงานเรื่อง นวัตกรรมตู้ป้องกันรังสีต้านมะเร็ง โดย นาวาเอก นพ. เถลิงเกียรติ แจ่มอุลิตรัตน์ จากกรมแพทย์ทหารเรือ ได้รับเงินรางวัลผลงานละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ณ หอประชุมประดู่แดง  ในระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2563
พัทธนันท์/ข่าว
กาญจนา/ข้อมูล