เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
“เด็กเนิร์ด” ดีกรีนักศึกษาดีเด่น “เพชร มจพ.” ปี 2566 ระดับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตัวตึงหลงใหลด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์
19 มิถุนายน 2567
นายธนกร กุลศรี ชื่อเล่น “เฟิร์ส” นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) คาเร็กเตอร์เป็นคนร่าเริงสนุกสนานแต่อาจเป็นแง่มุมที่คนอื่นไม่ได้เห็น เพราะเมื่อต้องทำงานก็จะเป็นคนเคร่งเครียดจริงจัง เพราะเป็นคนคิดเยอะ อยากให้งานทุกอย่างออกมาสมบรูณ์แบบที่สุด หลงใหลด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ชื่นชอบในการคำนวณและคณิตศาตร์อย่างจริงจัง ถ้าสนใจเรื่องอะไร!! แล้วจะค้นหาและศึกษาหาข้อมูลเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียด เพื่อน ๆ เรียกว่าเนิร์ด (Nerd) เลย พ่วงมาด้วยผลการเรียนที่เกรดเฉลี่ยสะสม 3.96
ดูแล้วไม่ธรรมดาเลยใช่ไหมคะ แต่ยังไม่จบมีดีกรีนักศึกษาดีเด่น “เพชร มจพ.”
ปี
2566 ระดับ
คณะ และ มีฝีมือจัดจ้าน เพราะเป็นหนึ่งในสมาชิกทีมหุ่นยนต์
iRAP Robot มจพ. ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 พร้อมด้วยรางวัล Best In Class Mobility และ Best In Class Mapping ปี 2023 ณ ประเทศฝรั่งเศส
หลาย ๆ คน คงคุ้นหน้าตากันเป็นอย่างดี
“เฟิร์ส” เล่าให้ฟังว่าตอนเรียนมัยธยมปลาย ได้ร่วมทำชมรมหุ่นยนต์กับคุณครูท่านหนึ่ง ซึ่งคุณครูเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ จึงทำให้การสอนของครูแตกต่างจากการสอนปกติ โดยเน้นการปฎิบัติจริง ให้ได้เรียนรู้ ถึงการวางกรอบแนวคิด วางแผนอย่างมีหลักการ และมีประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ กอปรกับการเรียนการสอนของคุณครูในตอนนั้น
มันเกิดจุดประกายความสนใจในวิศวกรรมของผมขึ้นมาทันที ทำให้ผมตั้งใจจะศึกษาต่อในสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์ และได้สมัครเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โควตาความสามารถพิเศษด้านสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์
การเรียนในมหาวิทยาลัย
“
ผมเลือกเรียนสาขาที่ชอบ และค้นพบตัวเองตั้งแต่มัธยม จึงปรับตัวไม่ยาก
ด้วยมี
ผลการเรียนที่เกรดเฉลี่ยสะสม 3.96
” ผมจึงได้รับการคัดเลือกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นนักศึกษาดีเด่น ‘เพชร มจพ.’ ประจำปีการศึกษา 2567 นอกจากได้ต่อยอดความสนใจและความสามารถจากสมัยมัธยมโดยการเข้าร่วมชมรม
หุ่นยนต์
ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ iRAP Robot แล้วยังได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับการแข่งขันตั้งแต่ช่วงชั้นปีที่ 1 จนถึงปัจจุบัน ด้วยการสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัยและคณะวิศวกรรมศาสตร์ทำให้ผมและเพื่อนร่วมทีมได้แสดงศักยภาพและคว้ารางวัลในการแข่งขัน เช่น CRU Robot Games , TPA Robot และ
World Robocup Rescue
โดยในการแข่งขันปี 2023 ณ ประเทศฝรั่งเศส
ผมและทีมได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่
1 พร้อมด้วยรางวัล Best In Class Mobility และ Best In Class Mapping ซึ่งบ่งบอกถึงสมรรถนะในการขับเคลื่อนและความสามารถในการสร้างแผนที่เพื่อการสำรวจของหุ่นยนต์
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยก็เรียนตามปกติ และเวลา 4 ปี ที่ผ่านมาก็ไปร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์และช่วยเหลืองานชมรมหุ่นยนต์เป็นหลัก “
เนื่องจากผมรู้ว่าตนเองชอบในวิศวกรรมหุ่นยนต์ตั้งแต่ช่วงมัธยม โดยที่คลุกคลีกันมาตลอดเพราะเป็นสิ่งที่ทำให้มีความสุขและชอบ
” การทำกิจกรรมชมรมหุ่นยนต์ ทำให้เราได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในหลากหลายความคิด และอายุ รวมทั้งจากทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันแต่ละรายการ นอกจากต้องพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นแล้ว การช่วยงานของเพื่อน คอยสอนงานและให้ความรู้ให้กับรุ่นน้อง ๆ จึงมองว่าการทำกิจกรรมลักษณะเช่นนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการฝึกงานไปพร้อมกับเรียนมหาวิทยาลัยไปด้วย ด้วยเหตุนี้ทำให้เราได้เห็นมุมมองและทัศนคติที่หลากหลายทำให้เรามีความพร้อมในการทำงานจริงมากกว่าคนอื่น
สำหรับเรื่องของการเรียน สืบเนื่องจากการทำกิจกรรมชมรมหุ่นยนต์ และการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นที่ไปสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนในห้องที่เกี่ยวกับเรื่องของหุ่นยนต์อยู่แล้ว ทำให้สามารถทำผลการเรียนอยู่ในระดับดีมากอย่างต่อเนื่องตลอด 4 ปี ด้วยจากการแข่งขันและรางวัลที่ได้รับมา จากความพยายามในการพัฒนาตนเองไม่ใช่แค่ 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัยแต่คือ 7 ปี ตั้งแต่เริ่มแข่งขันหุ่นยนต์ครั้งแรกช่วงมัธยมปลายจาก
“เด็กเนิร์ด”
(Nerd)
ที่เขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ได้นิดหน่อยในวันนั้นกลายเป็นโปรแกรมเมอร์ในทีมหุ่นยนต์ระดับโลก สิ่งเหล่านี้เกิดจากความชอบ ความคลั่งไคล้ในอะไรสักอย่างแล้วพยายาม ทุ่มเทเติมที่กับมัน
“ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การเอาชนะตัวเอง”
ความสำเร็จหรือรางวัลที่ผมได้รับมาตลอดนั้นผมมองมันเป็นผลพลอยได้ รางวัลแท้จริง ที่ได้รับคือความรู้ความสามารถที่ผมได้มาจากการเอาชนะและพัฒนาตนเองมาโดยตลอด สุดท้ายนี้ อยากฝากถึงน้อง ๆ ที่มีความสนใจในวิศวกรรมโดยเฉพาะด้านหุ่นยนต์และนวัตกรรมคณะวิศวกรรมศาสตร์และชุมรม iRAP Robot มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือจะเป็นที่ที่ทำให้น้องได้เอาชนะและพัฒนาตนเองที่ดีที่สุดได้อย่างแน่นอน “เฟิร์ส” กล่าวท้ายที่สุด
ขวัญฤทัย ข่าว