เป็นส่วนงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ก่อตั้งขึ้นจากโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันใน ปี พ.ศ. 2502 ปัจจุบันวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับเตรียมวิศวกรรมศาสตร์จนถึงระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งครอบคลุมในหลากหลายสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตช่างฝีมือ วิศวกร นักเทคโนโลยี รวมถึงนักวิจัยขั้นสูง ด้วยระบบการเรียนการสอนแบบเยอรมันที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ และประสบการณ์จริงในโรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (EP) 3 สาขา ได้แก่
สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สาขาวิชาเครื่องกล
สาขาวิชาโยธา
หลักสูตรปริญญาตรี ต่อเนื่อง 2-3 ปี
หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) 6 สาขา ได้แก่
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล ออกแบบเครื่องกล/ออกแบบแม่พิมพ์
สาขาวิชาเทคโนโลยีแมคคาทรอนิกส์
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องต้นกำลังเทคโนโลยียานยนต์/เครื่องต้นกำลังอุตสาหกรรม
สาขาวิชาเทคโนโลยีการเชื่อม
สาขาวิชาเทคโนโลยไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม/คอมพิวเตอร์/เครื่องมือวัดและควบคุม
หลักสูตรปริญญาตรี เทียบโอน 3 ปี
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) 4 สาขา ได้แก่
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการออกแบบและผลิตเครื่องจักรกล
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมออกแบบและผลิตเครื่องจักรกล สร้างเครื่องจักรกล/ออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องกล
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ
หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) 12 สาขา ได้แก่
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมพอลิเมอร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 1 สาขา ได้แก่
สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ
หลักสูตรปริญญาโท
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) 8 สาขา ไดแก่
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงาน
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าประยุกต์
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีวิศวกรรม
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) 2 สาขา ได้แก่
สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
สาขาวิชาการจัดการเชิงวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมในเมือง
หลักสูตรปริญญาเอก
หลักสูตรหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด) 1 สาขา ได้แก่
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน (DAET)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด) 1 สาขา
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมพลังงาน (DEET)